กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12041
ชื่อเรื่อง: ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Need assessment for development of childcare teacher’s functional competencies at preschool children development centers under local administration 0rganizations in Khian Sa District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว
ภัณฑิรา กุลศิริ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครูปฐมวัย--การฝึกอบรมในงาน
ครู--การประเมินศักยภาพตนเอง
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประชากร คือ ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 44 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2564 และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .88 และ .95 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และการบริหารจัดการชั้นเรียน และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานสอนของครูผู้ดูแลเด็ก ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรสนับสนุนครูให้เข้ารับการพัฒนาเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนระดับปฐมวัยที่เข้มข้นอย่างทั่วถึง กระตุ้นครูให้พัฒนาความรู้และความสามารถในการจัดการเรียน การสอนที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง แสวงหาอัตรากำลังเพิ่มในตำแหน่งธุรการ สำรวจความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู จัดสรรงบประมาณตามข้อตกลงในแผนการพัฒนาตนเองของครู กำหนดนโยบายให้ครูพัฒนาวิชาชีพด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและผู้ปกครอง กระตุ้นครูให้จัดกิจกรรมที่เด็กเป็นผู้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยเน้นความร่วมมือ และพัฒนาครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการชั้นเรียนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12041
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons