Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12042
Title: ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1
Other Titles: Instructional leadership of school administrators under the Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1
Authors: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิวัต ศุภมาตย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาวะผู้นำทางการศึกษา--ไทย--ชัยภูมิ
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณด้วยสูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 338 คน จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ (2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ ด้านการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการชี้แจงเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และพันธกิจ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และด้านการนิเทศและการประเมินการสอนของครู และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควร (1) พัฒนาตนเองด้านการวางแผนและนิเทศอย่างต่อเนื่อง (2) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกำหนดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูให้สอดคล้องกับความต้องการของครู (3) พัฒนาทักษะการวิจัยเพื่อส่งเสริมให้ครูทำการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ (4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลที่มีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนที่มีความถูกต้องและทันสมัยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ (5) กระตุ้นและขับเคลื่อนการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และ (6) ศึกษาเกณฑ์คุณภาพด้านความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้และให้คำแนะนำการจัดการชั้นเรียนให้ถูกต้องตามที่กำหนด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12042
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons