กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12052
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effectiveness of a capability-development program for caregivers of children with asthma at Sanpasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พัทยา แก้วสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา นุสรา ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา พัชรี พรหมสุวงศ์, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ผู้ดูแลเด็ก--ไทย--อุบลราชธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคหืดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านการปฏิบัติ และ 3) ด้านการจัดการในเด็กโรคหืด ก่อนและหลังการใช้โปรแกรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ดูแลเด็กโรคหืด ประกอบด้วยบิดา มารดา หรือผู้ดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง 1 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจเด็ก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปจำนวน 92 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง คำนวณจำนวน 46 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 23 คน คือ 1) กลุ่มควบคุม และ 2) กลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการจัดการดูแลเด็กโรคหืดสำหรับผู้ดูแล และ 2) แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลโดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1 และ 0.94 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ดูแลเด็กโรคหืดกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ การปฏิบัติ และการจัดการ ไม่มีความแตกต่างกัน และ 2) ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม ผู้ดูแลเด็กโรคหืดกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ การปฏิบัติ และการจัดการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < 0.05) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12052 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License