Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12061
Title: การประเมินผลโครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติดในจังหวัดลำปาง
Other Titles: Evaluation of labour volunteer for drug resistance project in Lampang Province
Authors: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐาปิตา ไชยวัง, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติดจังหวัดลำปาง--การประเมิน
การควบคุมยาเสพติด--ไทย--ลำปาง
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินโครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติดจังหวัดลำปาง (2) ศึกษาปัญหาการดำเนินโครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติดจังหวัดลำปาง และ (3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติดจังหวัดลำปาง การศึกษานี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ แรงงานจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ 2 คน อาสาสมัครแรงงานจังหวัดลำปาง 100 คน นายจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ลงมาที่อาสาสมัครแรงงานเข้าไปให้ความรู้ 160 คน ลูกจ้าง จำนวน 694 คน แรงงานนอกระบบ 529 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง คือ แรงงานจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ 2 คน ประเภทอื่น ๆ คิดสัดส่วนตามจำนวนอำเภอ ได้แก่ อาสาสมัครแรงงานจำนวน 13 คน นายจ้างจำนวน 13 คน ลูกจ้างจำนวน 13 คน แรงงานนอกระบบจำนวน 13 คน รวมทั้งสิ้น 54 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) การประเมินโครงการอาสาสมัครแรงงานต้านภัยยาเสพติดจังหวัดลำปาง 1) ด้านสภาพแวดล้อม มีความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้มีความชัดเจน เหมาะสม กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า อาคารสถานที่ ระยะเวลามีความเหมาะสม ส่วนด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และสื่อประชาสัมพันธ์ยังไม่เพียงพอ 3) ด้านกระบวนการ มีการบริหารขับเคลื่อนโครงการระดับจังหวัดและพื้นที่ การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดอาสาสมัครแรงงานสามารถให้ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาที่ดี โครงการมีการประเมินผลเฉพาะระหว่างและสิ้นสุดการดำเนินงาน 4) ด้านผลผลิต ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ นายจ้าง ลูกจ้าง และแรงงานนอกระบบรับรู้แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติด และ (2) ปัญหาสำคัญที่พบคือ รูปแบบโครงการเป็นการป้องกันระดับต้นทาง และ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงการ คือ ภาครัฐควรบูรณาการทางานร่วมกันในการปราบปรามยาเสพติด มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายให้มีความเข้มงวด รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และสื่อประชาสัมพันธ์ และอบรมการให้บริการให้แก่อาสาสมัครแรงงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12061
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons