Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฟารีดา เสริมศรีทอง, 2538--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2024-05-28T04:18:44Z-
dc.date.available2024-05-28T04:18:44Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12065-
dc.description.abstractการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรคือสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด ผู้ปลูกยางพารา จำนวน 191 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 130 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) จำนวนครั้งที่สมาชิกมาใช้บริการสหกรณ์ 9-10 ครั้งต่อเดือน เหตุผลที่ทำให้สมาชิกตัดสินใจใช้บริการที่สหกรณ์ เนื่องจากสหกรณ์ให้ราคาสินค้าเกษตรที่สูงกว่าแหล่งอื่น บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ คือ ครอบครัวหรือคนรัก และมีแนวโน้มการใช้บริการในอนาคต 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีระดับความสำคัญมากทุกปัจจัย ซึ่งสมาชิกให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการเป็นลำดับแรก รองลองมาเป็นปัจจัยด้านราคาและด้านบุคคลากร และปัจจัยที่สมาชิกให้ความสำคัญลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด 3) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านแนวโน้มการใช้บริการในครั้งต่อไป 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านจำนวนครั้งที่มาใช้บริการ ด้านบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจและด้านแนวโน้มการใช้บริการ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านเหตุผลที่เลือกใช้บริการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอุตสาหกรรมยางพารา--ไทย--พะเยาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัดth_TH
dc.title.alternativeFactors related to latex collection services use of members of the Ching Kham Settlement Cooperative Limiteden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe study of factors related to latex collection services use of members of the Chiang Kham Settlement Cooperative Limited aim to (1) study the use of latex collection services of the members of the Chiang Kham Settlement Cooperative Limited; (2) study the level of significance of marketing mix factors in the use of rubber latex collection services by members of the Chiang Kham Settlement Cooperative Limited; (3) study the use of the rubber latex collection service of the members of the Chiang Kham Settlement Cooperative Limited, classified by demographic characteristics, and 4) to study the relationship between marketing mix factors and the use of rubber latex collection services by members of the Chiang Kham Settlement Cooperative Limited. This study was a survey study using a questionnaire. The population was 191 members of Chiang Kham Settlement Cooperative Limited as rubber growers. The sample size were determined by using Taro Yamane formula of 130 cases. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and chi-square test statistics The results of the study showed that (1) the number of times members used the service of the Cooperative was 9-10 times per month. Reasons for members to use the service at the Cooperative were that Cooperatives gave higher prices for agricultural products than other sources. The person who influenced the decision to use the service was their family or loved ones. There was a tendency to use the service in the future. (2) All of marketing mix factor were very important for members. The service delivery process was the first priority, followed by price and personnel. The last importance was the marketing promotion factor. (3) The demographic factor was not correlated with the service usage of members on the trend of the next service usage. (4) Marketing mix factors were correlated with service usage in terms of a number of service users, the person influencing decision making, and the trend of service usage at the statistical significance level of 0.05. But there was no correlation with service usage on the reasons for choosing the serviceen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons