กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12065
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to latex collection services use of members of the Ching Kham Settlement Cooperative Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฟารีดา เสริมศรีทอง, 2538-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมยางพารา--ไทย--พะเยา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการรวบรวมน้ำยางพาราของสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ประชากรคือสมาชิกสหกรณ์นิคมเชียงคำ จำกัด ผู้ปลูกยางพารา จำนวน 191 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 130 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า 1) จำนวนครั้งที่สมาชิกมาใช้บริการสหกรณ์ 9-10 ครั้งต่อเดือน เหตุผลที่ทำให้สมาชิกตัดสินใจใช้บริการที่สหกรณ์ เนื่องจากสหกรณ์ให้ราคาสินค้าเกษตรที่สูงกว่าแหล่งอื่น บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ คือ ครอบครัวหรือคนรัก และมีแนวโน้มการใช้บริการในอนาคต 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีระดับความสำคัญมากทุกปัจจัย ซึ่งสมาชิกให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการเป็นลำดับแรก รองลองมาเป็นปัจจัยด้านราคาและด้านบุคคลากร และปัจจัยที่สมาชิกให้ความสำคัญลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด 3) ปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านแนวโน้มการใช้บริการในครั้งต่อไป 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านจำนวนครั้งที่มาใช้บริการ ด้านบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจและด้านแนวโน้มการใช้บริการ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านเหตุผลที่เลือกใช้บริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12065
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons