กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12067
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for developing the management of information system for educational administration of school administrators in Panchapakee Consortium under the Secondary Educational Service Area Office Saraburi |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | โสภนา สุดสมบูรณ์ ชิษณุพงศ์ เข็มนาค, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การบริหารการศึกษา--ฐานข้อมูล การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาของกลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี จำนวน 175 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ดูแลระบบสารสนเทศสถานศึกษา และนักเทคโนโลยีการศึกษา รวม 12 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดตอบสนองคู่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .96 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการเก็บรวมรวมข้อมูล ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ด้านการจัดเก็บข้อมูล และด้านการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ตามลำดับ 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ด้านการตรวจสอบข้อมูล ด้านการเก็บรวมรวมข้อมูล ด้านการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล และด้านการจัดเก็บข้อมูล ตามลำดับ 3) การจัดลำดับความต้องการจำเป็นเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการนำข้อมูลไปใช้ ด้านการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านการตรวจสอบข้อมูล และด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามลำดับ และ 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา มีดังนี้ (1) หน่วยงานต้นสังกัดควรกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาให้เป็นรูปธรรม ชัดเจนและต่อเนื่อง และ (2) ผู้บริหาร ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุก ๆ ฝ่ายควรร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายระดับสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12067 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License