กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12084
ชื่อเรื่อง: | คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา : ศึกษาเฉพาะกรณีการให้ความช่วยเหลือทางด้านทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/2 วรรคสอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Civil and penal action : the study of legal aid according to Thai criminal procedure code article 44/2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ ขวัญดาว แก้วแฮด, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี วิธีพิจารณาความอาญา คดีแพ่ง การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายทางด้านกฎหมายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (2) ศึกษาบทบาทของทนายความกับการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางด้านทนายความกับการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในประเทศไทย (4) เสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและข้อเสนอแนะทางด้านทนายความกับการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ คำพิพากษาของศาลทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ผลการศึกษา พบว่า (1) ในระดับสากลนั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญาโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคกันทางด้านกฎหมาย (2) แม้ว่าในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาจะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้เสียหายได้รับความช่วยเหลือทางด้านทนายความเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้โดยตรง แต่จะมีหน่วยงานเอกชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สำหรับประเทศไทยนั้น แม้ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายทางด้านทนายความไว้ แต่ก็เป็นการให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการแล้ว (3) สำหรับในประเทศไทยการได้รับการแต่งตั้งทนายความจากศาล ตามมาตรา 44/2 วรรคสอง ถูกกำหนดเงื่อนไขให้ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องเพื่อขอบังคับจำเลย เพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 เสียก่อน จึงทำให้เกิดภาระ ยุ่งยากต่อผู้เสียหายได้เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความสลับซับซ้อน การดำเนินการต่าง ๆ จะต้องมีลำดับขั้นตอน จึงทำให้การขอให้ศาลบังคับจำเลยเพื่อชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นเรื่องยาก (4) เพื่อให้ผู้เสียหายได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม จึงขอเสนอแนะให้ยกเลิกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/2 วรรคสอง และให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ในมาตรา 44/1 วรรคสี่ ถ้าความปรากฏต่อศาลว่าผู้เสียหายตามวรรคแรก เป็นคนยากจนไม่สามารถจัดหาทนายความได้เองให้ศาลมีอำนาจตั้งทนายความให้แก่ผู้นั้น โดยทนายความที่ได้รับแต่งตั้งมีสิทธิได้รับเงินรางวัล และค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12084 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.88 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License