กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12085
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมและการลงทุนของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting saving and investment preference of employees of Valaya Alongkorn Rajabhat University |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อภิญญา วนเศรษฐ วิลาสินี ชูหวาน, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์--พนักงาน--การเงินส่วนบุคคล การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมและการลงทุนของพนักงานมหาวิทยาลัย 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออมและการลงทุนของพนักงานมหาวิทยาลัย สำหรับประชากรในการศึกษา คือ พนักงานมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ คำนวณขนาดกลุ่มของตัวอย่างด้วยวิธีของ Taro Yamane ได้จำนวน 281 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-35 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท ส่วนมากมีรายได้หลักมาจากงานประจำ รายได้รวมต่อเดือนเฉลี่ย 30,000 - 50,000 บาท มีภาระหนี้สินส่วนบุคคลระยะยาว ช่องทางการออมส่วนใหญ่คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วัตถุประสงค์หลักของการออม คือสำรองไว้ในใช้ในยามฉุกเฉิน และช่องทางการลงทุนส่วนใหญ่คือ หุ้นสามัญ วัตถุประสงค์หลักในการลงทุนคือ สร้างความมั่งคั่ง มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินจากการลงทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น มีจำนวนเงินออมและจำนวนเงินลงทุนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือนเพราะมีการคาดการณ์ไว้แล้วว่าอาจจะต้องอยู่ตัวคนเดียวหลังจากเข้าสู่วัยเกษียณพฤติกรรมการออมและการลงทุนนั้นมีเพียงส่วนน้อยที่กล้ายืนยันความคิดของตนเอง เพราะยังขาดความรู้และขาดประสบการณ์ในการออมและการลงทุน ส่วนใหญ่เกิดการตัดสินใจจากการสอบถามบุคคลอื่นที่มีประสบการณ์ 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออมและการลงทุน คือ เพศและรายได้รวมต่อเดือน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยพบว่า เพศชายมีการออมมากกว่าเพศหญิง 2,056 บาทต่อเดือน และมีการลงทุนมากกว่าเพศหญิง 872 บาทต่อเดือน รายได้รวมต่อเดือนของพนักงานเพิ่มขึ้น 1 บาท ส่งผลให้มีการออมเพิ่มขึ้น 0.077 บาท และการลงทุนเพิ่มขึ้น 0.063 บาท |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12085 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Econ-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.28 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License