กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12087
ชื่อเรื่อง: การคุ้มครองสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนจากสัญญาทางปกครองที่ไม่เป็นธรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Protection the rights of private parties in contracts administrative
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิงครัต ดลเจิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภกร ขอนทอง, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สัญญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสัญญาทางปกครอง (2) ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญาทางปกครองในประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (3) วิเคราะห์การคุ้มครองสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาทางปกครอง (4) เสนอแนะแนวทางการคุ้มครองสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในสัญญาทางปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร จากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนจากสัญญาทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวข้อง คือ หลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริการสาธารณะและสัญญาทางปกครองในประเทศไทยและต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีหลักเกณฑ์ในรัฐบัญญัติว่าด้วยมาตรการบังคับในชั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ค.ศ. 1953 สาธารณรัฐฝรั่งเศสมีหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณี เช่น รัฐกฤษฎีกาลงวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.1985 และประเทศไทยปรากฏหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง การคุ้มครองสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนจากสัญญาทางปกครอง (การจัดซื้อจัดจ้าง) ที่ไม่เป็นธรรม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีกำหนดให้สัญญาทางปกครองที่คู่สัญญามีฐานะไม่เท่าเทียมกันจะมีผลเป็นโมฆะ คู่สัญญาฝ่ายรัฐจึงไม่มีเอกสิทธิ์ สาธารณรัฐฝรั่งเศสกฎหมายกำหนดให้สิทธิของคู่สัญญาฝ่ายเอกชนในการแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญาทางปกครอง นอกจากการมีกระบวนการร้องเรียนภายในฝ่ายปกครอง แตกต่างจากประเทศไทยที่ไม่มีบทบัญญัติกำหนดสิทธิและวิธีการให้คู่สัญญาที่เป็นเอกชนขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาและยกเลิกสัญญาทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมได้อย่างชัดเจน จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 97 และมาตรา 103 โดยเพิ่มวรรคกำหนดให้ผู้มีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเลิกสัญญาต้องจัดให้มีการเจรจาตกลงกันก่อน และมีบทบัญญัติให้คู่สัญญาฝ่ายเอกชนขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงและเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลก่อน โดยกำหนดคำนิยาม เหตุสุดวิสัยให้ชัดเจนสอดคล้องกับหลักการบริการสาธารณะ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12087
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons