กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12089
ชื่อเรื่อง: การสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The selection of the National Anti-Corruption Commission under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กฤติญดา เกิดลาภผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญญาทิพย์ แย้มเหมือน, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ--การสรรหา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและกระบวนการในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งในประเทศและต่างประเทศ (2) ศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการสรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 (3) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และ (4) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มบทบาทองค์กรภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนของรุสโซ ทฤษฎีหลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ และกระบวนการในการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซียและประเทศเกาหลีใต้ สามารถอธิบายกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่อต้านการทุจริตที่มีจุดยึดโยงกับประชาชน และมีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันได้ (2) เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 พบว่า การสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีจุดยึดโยงกับประชาชนที่น้อยลงและการให้อำนาจองค์กรอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหาไม่มีความสมดุล ซึ่งอาจทำให้ถูกแทรกแซงจากฝ่ายอื่นใด อันส่งผลให้กระบวนการสรรหาคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 นั้น บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการที่จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ (3) จากการวิเคราะห์ปัญหา พบว่า ที่มาของกรรมการ ป.ป.ช. ขาดการเชื่อมโยงของประชาชนและมีการเข้ามาเกี่ยวข้องของฝ่ายบริหารมากเกินไป และ (4) นำข้อเสนอแนะไปแก้ไขและเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 203 และมาตรา 204ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสรรหาฯ และผู้ให้ความเห็นชอบ เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลในการสรรหาและป้องกันการแทรกแซงของฝ่ายใด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12089
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม46.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons