กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1208
ชื่อเรื่อง: ภูมิปัญญาในการทำสวนกล้วยหอมทอง : กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The wisdom about Gros Michel (Kluai Hom Thong) plantations : a case study of Thungkhawat Gardening Management's Group, Lamae District, Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจพร ทองกลม, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
กล้วย--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาในการทำสวนกล้วยหอมทอง ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด (2) ภูมิปัญญาในการทำสวนกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่ง คาวัด (3) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาในการทำสวนกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวน ทุ่งคาวัด (4) แนวโน้มของการทำสวนกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัดในอนาคต วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้รู้จำนวน 5 คน ผู้นำในชุมชนทุ่งคา วัด จำนวน 5 คน เกษตรกรทุ่งคาวัด จำนวน 15 คน สหกรณ์จังหวัดชุมพร จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต และ การสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของกล้วยหอมทองมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเทียม รู้จักมานานกว่า 4,000 ปี มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพันธุ์พืชที่นิยมปลูกเกือบทุกภาคของไทย และที่ภาคใต้การปลูกกล้วยหอมทองมีมากอยู่ที่อำเภอละแม อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และอำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล้วยหอมทองที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศมาจากตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกร ก่อตั้งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เดิมชื่อ "กลุ่มกล้วยหอมทอง" ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2538 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “กลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด” (2) ภูมิปัญญาในการทำสวนกล้วยหอมทอง พบว่า มีภูมิปัญญาดังนี้ คือ 1) ภูมิปัญญาในการปลูกและขั้นตอนการปลูก 2) ภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสวน 3) ภูมิ ปัญญาในการเก็บเกี่ยว 4) ภูมิปัญญาในการในการห่อบรรจุภัณฑ์และขนส่ง 5) ภูมิปัญญาในด้านการตลาด 6) ภูมิปัญญาในการทำอาชีพเสริมรายได้จากสวนกล้วยหอมทอง (3) แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาในการ ทำสวนกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด พบว่า ต้องส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการผลิต ด้านจัดการระบบน้ำ จัดซื้อ ทำปุ๋ยหมัก อบรมสัมมนาจัดทำแปลงต้นแบบเพื่อให้ได้การผลิตที่มีมาตรฐาน (4) แนวโน้มของการทำสวนกล้วยหอมทองของกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุ่งคาวัด พบว่าจะมีการขยายพื้นที่การ ปลูก จะมีการขยายการรวมกลุ่มเกษตรกรและการขยายการลงทุน จะเพิ่มผลผลิตและปริมาณการส่งออก การขยายตัวด้านการตลาด การแข่งขันทางการค้า และแนวโน้มด้านราคาผลผลิตที่สูงมากขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1208
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (12).pdfเอกสารฉบับเต็ม29.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons