Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12090
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิรีกานต์ อยู่เรือง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพรรณปพร บงเจริญ, 2535--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-30T08:45:39Z-
dc.date.available2024-05-30T08:45:39Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12090-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของปัญหา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น (4) เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษา ค้นคว้า อาศัยการวิเคราะห์เชิงเอกสาร ประกอบด้วย ตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลต่างๆได้มาจากเอกสารทางวิชาการ ตำรา บทความ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาเพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์ และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น อาทิ กระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น คุณสมบัติของรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น และอำนาจของรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ขาดความเป็นสากล เปิดช่องให้เกิดการเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกเข้ามาบริหารงานในหน่วยงาน และยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์บังคับให้รองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับตำแหน่งต้องบริหารงาน (2)กฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศญี่ปุ่น ได้ให้กระบวนการได้มาซึ่งรองนายกเทศมนตรีต้องผ่านความเห็นชอบของสภา พร้อมทั้งมีการกำหนดคุณสมบัติของรองนายกเทศมนตรีที่ค่อนข้างเคร่งครัดเนื่องจากรองนายกเทศมนตรีของประเทศข้างต้นส่วนใหญ่จะมาจากสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อีกทั้งอำนาจของรองนายกเทศมนตรีของประเทศที่ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาจะเป็นการที่นายกเทศมนตรีมอบอำนาจในการบริหารงานให้ เนื่องจากต้องเป็นผู้ช่วยเหลือนายกเทศมนตรีในการบริหารงาน (3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการได้มาของรองนายกเทศมนตรีที่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก่อนแต่งตั้ง ไม่มีกฎหมาย ที่กำหนดคุณสมบัติที่เคร่งครัดในเรื่องข้อต้องห้ามของความเกี่ยวพันทางสายเลือดทางเครือญาติ และไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อบังคับให้นายกเทศมนตรีต้องมอบหมายอำนาจให้รองนายกเทศมนตรีบริหารงาน (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยให้กระบวนการได้มาของรองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีที่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก่อนแต่งตั้ง รวมทั้งเพิ่มเติมคุณสมบัติของรองนายกเทศมนตรีให้มีลักษณะต้องห้าม กรณีไม่เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องที่มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติแบบใกล้ชิดกับผู้แต่งตั้ง และให้นายกเทศมนตรีต้องมอบหมายหน้าที่ในการบริหารงานให้แก่รองนายกเทศมนตรีที่ตนได้แต่งตั้งมา ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496th_TH
dc.subjectการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeLegal problems with the power and the process of acquiring the deputy mayor of the local governmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to: (1) study the background of problems, concepts and theories about the power and the process of acquiring the deputy mayor of the local government; (2) study the legal measures relating to the power and the process of acquiring the deputy mayor of local government in accordance with Thai and foreign laws; (3) analyze legal issues relating to the power and the process of acquiring the deputy mayor of the local government; and (4) study and suggest solutions to problems related to power and the process of acquiring the deputy mayor of the local government. This independent study is qualitative research based on documentary research from documentary analysis, including relevant Thai and foreign laws which the information is derived from academic papers, articles, journals, related research, electronic documents, websites, and data fields in order to study, analyze, and compile data in a systematic way. The study found that: (1) problems with the deputy mayor of the local government, such as the process of acquiring the deputy mayor of the local government, qualifications of deputy mayor of local government and pension of deputy mayor of local government of Thailand lack of international standard and it creates an opportunity for partisan benefits to take over the administration of the agency, and there was no rule forcing the deputy mayor of the local government to administer it; (2) the laws of France, UK and Japan specify the process of acquiring a deputy mayor must be passed with the council's approval and there is quite strict specification of the qualifications of the deputy mayor as the deputy mayor of the above countries are mostly from local councilors who are directly elected by the people. Also, the power of the deputy mayor of the country where the author has studied was the case that the mayor gave the power in the administration, as the deputy mayor must assist the mayor in the administration; (3) The Municipalities Act 1953 and as amended have no legislative measures relating to the deputy mayor's acquisition process that must be passed with the approval of the local council before appointment. There is no law, which upholds the strict qualifications of the prohibition of blood and family affiliation and there is no rule to compel the mayor to assign power to the deputy mayor to administer; (4) The author proposed to amend the law to suit the current situation, requiring that the deputy mayor's acquisition process be derived from the mayor's appointment that must be approved by the local council before appointment and adding the qualifications of the deputy mayor to have prohibited characteristics. They must not be parents or successors of any class or a sibling or cousin who has a close kinship relationship with the appointor. Also, the mayor shall delegate administrative duties to the deputy mayor he has appointed which is an amendment to the Municipalities Act 1953en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons