กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12090
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems with the power and the process of acquiring the deputy mayor of the local government
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิรีกานต์ อยู่เรือง
พรรณปพร บงเจริญ, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
การปกครองท้องถิ่น
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของปัญหา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น (2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น (4) เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษา ค้นคว้า อาศัยการวิเคราะห์เชิงเอกสาร ประกอบด้วย ตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลต่างๆได้มาจากเอกสารทางวิชาการ ตำรา บทความ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหาเพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์ และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและกระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น อาทิ กระบวนการได้มาซึ่งรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น คุณสมบัติของรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่น และอำนาจของรองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ขาดความเป็นสากล เปิดช่องให้เกิดการเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวกเข้ามาบริหารงานในหน่วยงาน และยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์บังคับให้รองนายกของราชการส่วนท้องถิ่นที่ได้รับตำแหน่งต้องบริหารงาน (2)กฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศญี่ปุ่น ได้ให้กระบวนการได้มาซึ่งรองนายกเทศมนตรีต้องผ่านความเห็นชอบของสภา พร้อมทั้งมีการกำหนดคุณสมบัติของรองนายกเทศมนตรีที่ค่อนข้างเคร่งครัดเนื่องจากรองนายกเทศมนตรีของประเทศข้างต้นส่วนใหญ่จะมาจากสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อีกทั้งอำนาจของรองนายกเทศมนตรีของประเทศที่ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาจะเป็นการที่นายกเทศมนตรีมอบอำนาจในการบริหารงานให้ เนื่องจากต้องเป็นผู้ช่วยเหลือนายกเทศมนตรีในการบริหารงาน (3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการได้มาของรองนายกเทศมนตรีที่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก่อนแต่งตั้ง ไม่มีกฎหมาย ที่กำหนดคุณสมบัติที่เคร่งครัดในเรื่องข้อต้องห้ามของความเกี่ยวพันทางสายเลือดทางเครือญาติ และไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อบังคับให้นายกเทศมนตรีต้องมอบหมายอำนาจให้รองนายกเทศมนตรีบริหารงาน (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอให้แก้ไขกฎหมายเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยให้กระบวนการได้มาของรองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีที่ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก่อนแต่งตั้ง รวมทั้งเพิ่มเติมคุณสมบัติของรองนายกเทศมนตรีให้มีลักษณะต้องห้าม กรณีไม่เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องที่มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติแบบใกล้ชิดกับผู้แต่งตั้ง และให้นายกเทศมนตรีต้องมอบหมายหน้าที่ในการบริหารงานให้แก่รองนายกเทศมนตรีที่ตนได้แต่งตั้งมา ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12090
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons