Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธวัชชัย สุวรรณพานิชth_TH
dc.contributor.authorอารีย์ ว่องประชานุกูล, 2527-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-31T02:54:19Z-
dc.date.available2024-05-31T02:54:19Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12097en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการใช้วิธีการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพยานคดีอาญาผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ ของประเทศไทย และของต่างประเทศ รวมทั้งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำเอาระบบการประชุมทางจอภาพมาใช้ในการสืบพยานคดีอาญาพร้อมกับเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะได้เผชิญหน้าพยานของจำเลยและไม่กระทบต่อความปลอดภัยของพยานที่ต้องเข้าเบิกความต่อหน้าจำเลย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เว็บไซด์ และเอกสารอื่นๆ ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับวิธีการสืบพยานในคดีอาญาโดยระบบการประชุมทางจอภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า การสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยการประชุมทางจอภาพนั้นยังคงมีปัญหาในเรื่องของความชัดเจนของหลักกฎหมาย และแนวการปฏิบัติ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230/1 มิได้บัญญัติประเภทคดีที่สามารถใช้วิธีการสืบพยานทางจอภาพไว้ และมิได้กำหนดให้จำเลยสามารถคัดค้านกระบวนการสืบพยานโดยวิธีการประชุมทางจอภาพที่ไม่เป็นธรรมกับจำเลยไว้เช่นกัน อีกทั้งการกำหนดสถานที่ในการสืบพยานซึ่งไม่ใช่ศาลอาจส่งผลกับการเบิกความของพยาน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วผู้ศึกษาเห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความชัดเจนโดยกำหนดประเภทคดีที่สามารถใช้วิธีการสืบพยานทางจอภาพได้ กำหนดวิธีการคัดค้านการสืบพยานทางจอภาพที่ไม่เป็นธรรมกับจำเลย และจำกัดสถานที่สืบพยานบุคคลทางจอภาพให้กระทำได้เพียงในศาลที่มีผู้พิพากษาอยู่เป็นสักขีพยาน โดยให้เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคเป็นดูแลความเรียบร้อยในห้องพิจารณาก็จะทำให้การนำวิธีการทางจอภาพมาใช้ในการสืบพยานคดีอาญา มีความน่าเชื่อถือ และไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลย อีกทั้งพยานยังได้รับความสะดวกในการเข้าเบิกความต่อศาลมากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพยานหลักฐานคดีอาญาth_TH
dc.subjectการประชุมทางไกลผ่านจอภาพth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาการใช้วิธีการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพth_TH
dc.title.alternativeProblems of using video conference in witness examination in criminal casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study of Problems of Using Video Conference in Witness Examination in Criminal Cases aims to study the laws, regulations, and guidelines related to witness examination in criminal cases through the video conference system in Thailand and abroad. The study includes the problems that arise from the usage of video conferencing systems for witness examination in criminal cases, along with suggesting solutions to problems to help improve the Criminal Procedure Code to be appropriate and consistent with the current situation without prejudice to the right to confront the witnesses of the defendant and the safety of witnesses who must testify before the defendant. This independent study is qualitative research utilizing documentary research from the study of laws, regulations, requirements, academic journals, thesis, websites, and other documents; both in Thai and other countries about the procedures of witness examination in criminal cases with the video conference, to collect data for the study, analyze and compile systematically. According to the study, it is evident that the clarity of the principle of law and practical guideline is indeterminate. The Criminal Procedure Code, Section 230/1 does not stipulate a type of case that can be used with video conference hearing and does not impose the defendant to object to being adduced. Furthermore, the selection of a place for witness examination apart from the courtroom might affect the witness' testimony. Thus, considering the mentioned problems, it is suggested amend the law to be more specific by specifying the case that can use the video conference, defining the practical guideline for the defendant to object to the unfair witness examination via the video conference, and limiting the witness examination to take place at just the court where the judges can witness the occurrence and the technician officer can support technical problems within the courtroom. The introduced recommendations would help make the use of video conferences in criminal cases witness examination more reliable. In addition, they will not affect the rights of the defendant, and the witness will be more convenient to testify before the court.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.7 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons