กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12097
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการใช้วิธีการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of using video conference in witness examination in criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
อารีย์ ว่องประชานุกูล, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
พยานหลักฐานคดีอาญา
การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ปัญหาการใช้วิธีการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพยานคดีอาญาผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ ของประเทศไทย และของต่างประเทศ รวมทั้งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำเอาระบบการประชุมทางจอภาพมาใช้ในการสืบพยานคดีอาญาพร้อมกับเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะได้เผชิญหน้าพยานของจำเลยและไม่กระทบต่อความปลอดภัยของพยานที่ต้องเข้าเบิกความต่อหน้าจำเลย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนด บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ เว็บไซด์ และเอกสารอื่นๆ ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับวิธีการสืบพยานในคดีอาญาโดยระบบการประชุมทางจอภาพ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า การสืบพยานบุคคลในคดีอาญาโดยการประชุมทางจอภาพนั้นยังคงมีปัญหาในเรื่องของความชัดเจนของหลักกฎหมาย และแนวการปฏิบัติ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 230/1 มิได้บัญญัติประเภทคดีที่สามารถใช้วิธีการสืบพยานทางจอภาพไว้ และมิได้กำหนดให้จำเลยสามารถคัดค้านกระบวนการสืบพยานโดยวิธีการประชุมทางจอภาพที่ไม่เป็นธรรมกับจำเลยไว้เช่นกัน อีกทั้งการกำหนดสถานที่ในการสืบพยานซึ่งไม่ใช่ศาลอาจส่งผลกับการเบิกความของพยาน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วผู้ศึกษาเห็นว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความชัดเจนโดยกำหนดประเภทคดีที่สามารถใช้วิธีการสืบพยานทางจอภาพได้ กำหนดวิธีการคัดค้านการสืบพยานทางจอภาพที่ไม่เป็นธรรมกับจำเลย และจำกัดสถานที่สืบพยานบุคคลทางจอภาพให้กระทำได้เพียงในศาลที่มีผู้พิพากษาอยู่เป็นสักขีพยาน โดยให้เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคเป็นดูแลความเรียบร้อยในห้องพิจารณาก็จะทำให้การนำวิธีการทางจอภาพมาใช้ในการสืบพยานคดีอาญา มีความน่าเชื่อถือ และไม่กระทบต่อสิทธิของจำเลย อีกทั้งพยานยังได้รับความสะดวกในการเข้าเบิกความต่อศาลมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12097
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons