Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเรณู สุขเจริญ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-05-31T03:23:54Z-
dc.date.available2024-05-31T03:23:54Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12099-
dc.description.abstractการค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของเด็กพิเศษเมื่ออยู่ในชั้น เรียนที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ 2) ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับครูผู้สอน และ 3) ปัญหา ด้านการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติที่เรียนร่วมในชั้นเรียน ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา การค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 1) เด็กที่มี ความบกพร่องทางสติปัญญาด้านดาวน์ซินโดรม 1 คน ที่เรียนร่วมกับเด็กปกติในระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) ครูผู้สอน 2 คน เป็นครูผู้สอนเด็กพิเศษที่เรียนร่วมกับ เด็กปกติในระดับอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา จังหวัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือแบบ สังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า (1) พฤติกรรมของเด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติมีความสนใจและ มีความพร้อมในการเรียนรู้ในงานที่ครูมอบหมายให้ทำได้อย่างดี มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนทั้งการ เล่น การช่วยเหลือ สามารถที่จะเข้ากับเพื่อนได้ดี มีการแยกตัวไปอยู่คนเดียวบ้างแต่น้อยครั้ง สิ่งที่ ทำให้เด็กพิเศษแยกตัวมักมาจากการเบื่อในวิชาที่มีความเข้าใจได้ยาก (2) ปัญหาด้านการสื่อสาร ระหว่างเด็กพิเศษกับครูผู้สอนเด็กพิเศษมักจะมีปัญหาด้านการสื่อความหมายหรือความเข้าใจได้ช้า แต่มีความเข้าใจได้บ้างเมื่อครูได้อธิบายในเนื้องานที่มอบให้เด็กพิเศษทำอย่างละเอียดและซ้ำๆ มี การถามครูผู้สอนบ้างบางครั้งเมื่อไม่เข้าใจในงานที่ครูให้มา ปัญหาที่พบในการเรียนร่วมของเด็ก พิเศษในชั้นเรียนปกติ คือความบกพร่องทางสติปัญญาซึ่งทำให้มีปัญหาด้านการสื่อความหมาย เรียนรู้ได้ช้า มีปัญหาด้านการคิดคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์ และการประสมคำในวิชาภาษาไทย (3) ปัญหาการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับเพื่อนที่เป็นเด็กปกตินั้น เด็กพิเศษมีความเข้าใจและ สามารถสื่อความหมายในเรื่อง การพูด การขอความช่วยเหลือ การปฏิเสธ แต่การตอบโต้เป็นไปได้ช้าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการเรียนร่วมของเด็กพิเศษth_TH
dc.subjectเด็กพิเศษ--การสื่อสารth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์th_TH
dc.titleการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของเด็กพิเศษที่เรียนร่วมในชั้นเรียนเด็กปกติ ระดับอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตาth_TH
dc.title.alternativeCommunication for learning of a special child a kindergarten classroom with normal children at Ananta Schoolth_TH
dc.typeOtherth_TH
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
152252.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons