กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12099
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ของเด็กพิเศษที่เรียนร่วมในชั้นเรียนเด็กปกติ ระดับอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication for learning of a special child a kindergarten classroom with normal children at Ananta School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ล้อมชวการ
เรณู สุขเจริญ, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ
เด็กพิเศษ--การสื่อสาร
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของเด็กพิเศษเมื่ออยู่ในชั้นเรียนที่เรียนร่วมกับเด็กปกติ 2) ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับครูผู้สอน และ 3) ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติที่เรียนร่วมในชั้นเรียน ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา การค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 1) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้านดาวน์ซินโดรม 1 คน ที่เรียนร่วมกับเด็กปกติในระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 2) ครูผู้สอน 2 คน เป็นครูผู้สอนเด็กพิเศษที่เรียนร่วมกับเด็กปกติในระดับอนุบาล 3 โรงเรียนอนันตา จังหวัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือแบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า (1) พฤติกรรมของเด็กพิเศษเรียนร่วมกับเด็กปกติมีความสนใจและมีความพร้อมในการเรียนรู้ในงานที่ครูมอบหมายให้ทำได้อย่างดี มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนทั้งการเล่น การช่วยเหลือ สามารถที่จะเข้ากับเพื่อนได้ดี มีการแยกตัวไปอยู่คนเดียวบ้างแต่น้อยครั้ง สิ่งที่ทำให้เด็กพิเศษแยกตัวมักมาจากการเบื่อในวิชาที่มีความเข้าใจได้ยาก (2) ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับครูผู้สอนเด็กพิเศษมักจะมีปัญหาด้านการสื่อความหมายหรือความเข้าใจได้ช้าแต่มีความเข้าใจได้บ้างเมื่อครูได้อธิบายในเนื้องานที่มอบให้เด็กพิเศษทำอย่างละเอียดและซ้ำๆ มีการถามครูผู้สอนบ้างบางครั้งเมื่อไม่เข้าใจในงานที่ครูให้มา ปัญหาที่พบในการเรียนร่วมของเด็กพิเศษในชั้นเรียนปกติ คือความบกพร่องทางสติปัญญาซึ่งทำให้มีปัญหาด้านการสื่อความหมายเรียนรู้ได้ช้า มีปัญหาด้านการคิดคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์ และการประสมคำในวิชาภาษาไทย (3) ปัญหาการสื่อสารระหว่างเด็กพิเศษกับเพื่อนที่เป็นเด็กปกตินั้น เด็กพิเศษมีความเข้าใจและสามารถสื่อความหมายในเรื่อง การพูด การขอความช่วยเหลือ การปฏิเสธ แต่การตอบโต้เป็นไปได้ช้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12099
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152252.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons