กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12100
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problem of arrest warrant to seizure of alleged offender in other cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุจินตนา ชุมวิสูตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิสมัย ฟองฤทธิ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
หมายจับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาแนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่น (2) ศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่นตามกฎหมายของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์ถึงปัญหาการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่น (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมในการดำเนินการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังคดีอื่นแล้วในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสารจากตำรากฎหมาย บทบัญญัติของกฎหมาย หนังสือ บทความ วารสารต่าง ๆ ตลอดจนเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำมารวบรวมสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ในกรณีการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่นนั้นเป็นมาตรการการออกหมายจับที่ยังไม่มีการกำหนดให้เป็นมาตรการเฉพาะตามกฎหมายไทย เมื่อมีเหตุการณ์ออกหมายจับในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นจะต้องนำเอาหลักการออกหมายจับทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญามาปรับใช้ประกอบกับระเบียบข้อบังคับของกรมตำรวจที่เกี่ยวข้องเท่านั้น (2) ผู้ศึกษาเห็นว่าการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่นนั้นแม้จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการออกหมายจับโดยทั่วไป แต่การออกหมายจับดังกล่าวนั้นกลับมีแหล่งที่อยู่ของผู้ต้องหาที่แตกต่างกันจึงอาจทำให้กระบวนการในการดำเนินการนั้นอาจมีความล่าช้าหรือการส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหา (3) หลักการดังกล่าวนี้แตกต่างจากหลักกฎหมายของต่างประเทศ ที่กฎหมายแต่ละประเทศนั้นแม้จะไม่ได้มีการบัญญัติหลักกฎหมายในกรณีของการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังในคดีอื่นไว้เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกับกฎหมายไทย แต่หลักกฎหมายที่นำมาบังคับใช้กับกรณีดังกล่าวนั้นกลับมีความชัดเจนและครอบคลุมมากกว่า (4) จึงเห็นควรให้มีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องการออกหมายจับเพื่ออายัดตัวผู้ต้องหาในคดีอื่นไว้เป็นการเฉพาะต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons