กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12104
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการสื่อสารจากโครงการกฤษฎีกาสัญจร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication effectiveness of the Travelling Council of State Project
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชระ แสงดอกไม้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการกฤษฎีกาสัญจร
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
การสื่อสาร
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้ที่ได้รับจากการสื่อสารและ ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการสื่อสารของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการกฤษฎีกาสัญจร 2) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับระดับความรู้ที่ได้รับจากการสื่อสารและความพึงพอใจต่อ การสื่อสารของโครงการกฤษฎีกาสัญจร 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความรู้จักสานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกากับระดับความรู้ที่ได้รับและความพึงพอใจต่อการสื่อสารของโครงการ กฤษฎีกาสัญจร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 186 คนได้มาจากวิธีการสุ่ม อย่างแบบตัวอย่างแบบโควด้า เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การเปรียบเทียบรายคู่แบบพหุคูณด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้ที่ได้รับจากการสื่อสารของโครงการกฤษฎีกาสัญจร อยู่ในระดับมากได้แก่ หัวข้อเกี่ยวกับพันธกิจ บทบาท หน้าที่และผลการดาเนินงานของสานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารของโครงการกฤษฎีกา สัญจรในระดับมาก โดยรูปแบบการสื่อสารที่มีความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่การบรรยาย/อภิปราย โดยทีมวิทยากร 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับ ความรู้ที่ได้รับจากการสื่อสารของ โครงการกฤษฎีกาสัญจรแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างที่มาจาก มหาวิทยาลัยที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารของโครงการกฤษฎีกาสัญจรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างที่รู้จักมาก รู้จักปานกลาง และไม่รู้จักสานักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเลย มีระดับความรู้ที่ได้รับจากการสื่อสารของโครงการกฤษฎีกาสัญจรไม่ แตกต่างกัน และมีความพึงพอใจต่อการสื่อสารของโครงการกฤษฎีกาสัญจรไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ ประสิทธิผลของการสื่อสาร โครงการกฤษฎีกาสัญจร ความพึงพอใจ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12104
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151898.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons