กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12108
ชื่อเรื่อง: | คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดนครปฐม 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Quality of work life of employees of Bangkok Bank Public Company Limited in Nakorn Pathom 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา ยุวธิดา โหลคำ, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | ธนาคารกรุงเทพ--พนักงาน คุณภาพชีวิตการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่เป็นจริงและที่คาดหวังของพนักงานระดับปฏิบัติการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดนครปฐม 2 (2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานที่เป็นจริงของพนักงานระดับปฏิบัติการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดนครปฐม 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางสำหรับผู้บริหารในปรับปรุงคุณภาพชีวิตในการทำงานระดับปฏิบัติการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดนครปฐม 2 ประชากรในการศึกษา ได้แก่ พนักงาน จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานที่พิจารณาจากแนวคิดของริชาร์ด อี วอลตัน แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่า (1) ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านสิทธิส่วนบุคคลด้านโอกาสการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้าน สถานภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและ ยุติธรรมด้านจังหวะชีวิตของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกด (มหาชน) ในเขตจังหวัดนครปฐม 2 มี คุณภาพชีวิตการทำงานที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง และที่คาดหวังอยูในระดับมาก (2) พนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดนครปฐม 2 ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อายุงาน ระดับชั้นที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และระดับรายได้ที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่าง (3) ผู้บริหารควรให้ความมันใจแก่พนักงานที่มีอายุ อายุงาน ที่ยังไม่มาก หรือระดับชั้น 7-9 ด้านความกาวหน้า มั่นคงในงานและควรพิจารณาความเหมาะสม ในเรื่องเวลาในการปฏิบัติงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12108 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
124991.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.01 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License