กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12115
ชื่อเรื่อง: การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของเทศบาลตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Financial and accounting risk management of Khamriang Municipality in Kantarawichai District, Mahasarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รวิกานต์ กุณโฮง, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การเงิน--บริหารความเสี่ยง
การบัญชี--บริหารความเสี่ยง
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ระบุและประเมินความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชี ของเทศบาลตำบลขามเรียง อำ เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (2) ศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของเทศบาลตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ โดยศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและประชุมระดมสมองโดยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลขามเรียง จำนวน 12 คน ตามแนวทาง ทฤษฎีการบริหารความเสี่ยงของ COSO ซึ่งใช้แบบฟอร์มปลายเปิดเพื่อให้ผู้ร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลายในการระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และการหาแนวทางการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนเสนอกิจกรรมเพื่อใช้ในการควบคุมความเสี่ยง ผลจากการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของเทศบาลตำบลขามเรียง ประกอบด้วย ปัจจัยความเสี่ยงระดับสูงมาก ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงจากการจ่ายเงินไม่เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และปัจจัยเสี่ยงจากการฝากเงินที่มีคำสั่งแต่งตั้งไว้แล้วเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามปัจจัยความเสี่ยงระดับสูง ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงจากการรับเงิน และปัจจัยเสี่ยงจากกระบวนการบันทึกบัญชีที่เกิดจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลขามเรียง (2) แนวทางการบริหารความเสี่ยงในกลุ่มปัจจัยความเสี่ยงระดับสูงมาก จะใช้วิธีหลีกเลี่ยง โดยยกเลิกการปฏิบัติงานแบบเดิมหรือปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานใหม่พร้อมมีแผนติดตามประเมินผล ส่วนปัจจัยความเสี่ ยงระดับสูงใช้วิธีโอนหรือกระจายความเสี่ยง โดยการแบ่งงานในหน่วยงานเพื่อแบ่งความรับผิดชอบไม่ให้ความรับผิดชอบตกอยู่กับเจ้าหน้าที่ผู้ใดผู้หนึ่ง หรือให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบ โดยการทำประกันความเสียหาย แล้วมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ จนระดับความเสี่ยงลดลง อยูในระดับที่เทศบาลตำบลขามเรียงยอมรับได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12115
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134100.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons