Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1211
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิกรม กรุงแก้ว, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-29T01:36:17Z-
dc.date.available2022-08-29T01:36:17Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1211-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ความเชื่อ และพิธีกรรมโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อและพิธีกรรมโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) แนวทางในการอนุรักษ์โนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโนราโรงครู 3 คน ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดให้ประกอบพิธีกรรม 2 คน ผู้มีเชื้อสายโนรา 5 คน และผู้เข้าร่วมพิธีกรรม 20 คน รวม ทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดจากความเชื่อของ ปู่ ยา ตา ยาย ในสมัยโบราณนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อบรรพบุรุษสิ้นชีวิต ลงก็ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหลานอยู่ หากผู้ใดปฏิบัติตนผิดธรรมเนียมจารีตทางศีลธรรม ละเลยต่อตายายมโนราห์ ก็จะลงโทษให้ป่วยไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงตั้งโรงครูขึ้นเพื่อเป็นการแก้บน และขอขมาในสิ่งที่เกิดขึ้น 2) ความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อก่อนการประกอบพิธีกรรม ความเชื่อในขั้นประกอบพิธีกรรม และความเชื่อหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรม ซึ่งทุกขั้นตอนจะสอดแทรกคติธรรมคำสอน เช่นความเชื่อในการบูชาบรรพบุรุษ เพื่อให้ลูกหลานมีความเคารพ ในส่วนพิธีกรรม ได้แก่ รูปแบบของการประกอบพิธีกรรม การปลูกสร้างโรงพิธี เครื่องสังเวยและเครื่องบูชาในพิธีกรรม การแต่งกายของผู้ประกอบพิธีกรรม เครื่องดนตรีในพิธีกรรม และขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม โดยจะมีเพียง 1 คืน 1 วัน ซึ่งจะเริ่มพิธีกรรมในวันพุธเวลาพลบค่ำ และเสร็จสิ้นพิธีกรรมในวันพฤหัสบดีเวลาบ่าย ไม่มีการเล่น 12 เรื่อง การรีบแทงเข้ และการรำถีบหัวควาย มีเพียงการรำคล้องหงส์เท่านั้น 3) การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อ ได้แก่ การดูฤกษ์ยาม การยกเครื่อง การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การนับถือครูหมอตา ยายมโนราห์ การแต่งหน้าและแต่งกาย การรักษาโรค และการถอดเครื่องแต่งกาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรม ได้แก่ การปลูกสร้างโรงพิธี การแต่งกายของผู้ประกอบพิธีกรรม เครื่องดนตรีในพิธีกรรม และขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม 4) แนวทางในการอนุรักษ์โนราโรงครู หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ต้องเล็งเห็นความสำคัญ ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านมโนราห์ ตลอดจนสอดส่องดูแลให้ความช่วยเหลือรวมทั้งเจ้าของคณะมโนราห์จะต้องปฏิบัติพิธีกรรมให้เกิดความถูกต้อง รวมถึงนำการแสดงพื้นบ้านมโนราห์บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน และยกย่อง เชิดชูเกียรติเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ศิลปินมโนราห์ได้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านได้อย่างยาวนานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความเชื่อ--ไทยth_TH
dc.subjectโนรา--ไทย(ภาคใต้)th_TH
dc.titleความเชื่อและพิธีกรรมโนราโรงครู : กรณีศึกษาอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeBeliefs and rituals of Nora Rong Kru : a case study in Tung Song District, Nakhon Si Tammarat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to study 1) the history of the Nora Rong Kru dance tradition in Tung Song District, Nakhon Si Thammarat Province; 2) the beliefs and rituals involved with this tradition; 3) changes to those beliefs and rituals; and 4) approaches for preserving the tradition. This was a qualitative research based on in-depth interviews with 30 key informants, consisting of 3 experts in the Nora Rong Kru ritual, 2 people who inherited the tradition of performing the ritual, 5 people with a family tradition of Nora dance, and 20 participants in the ritual. Data were collected using an interview form, an observation form and a community survey. Data were analyzed descriptively. The results showed that 1) the Nora Rong Kru dance tradition in Tung Song District, Nakhon Si Thammarat Province arose from the belief in Manorah ancestors of the past called “kru moh ta yai”(grandparent teachers) who were believed to protect and take care of their descendents, but this care was dependent on the behavior of the children and grandchildren in the Manorah family. If anyone violated the tradition, he or she would be punished by getting ill or injured. The Nora Rong Kru dance ritual was held to ask the ancestors’ pardon, to thank them, to pay them back for their boons and to ask to be healed. 2) Beliefs about the Nora Rong Kru ritual can be divided into pre-ritual beliefs, beliefs during the ritual and post-ritual beliefs. Every step is steeped with teachings, such as beliefs in respecting and worshipping your ancestors. The components of the ritual are the form of the ritual, the construction of a place for the ritual, ritual offerings, items of worship, the dress of the ritual participants, the musical instruments used and the steps of the ritual. The ritual lasts one night and one day, beginning at dusk on a Wednesday and coming to a close on Thursday afternoon. 3) Beliefs about the ritual that have changed are beliefs about auspicious times and days, about the pre-performance warm-up ceremony, about worshipping sacred beings, about respecting the kru moh ta yai, about make up and dress, about healing practices, and about taking off dance costumes. Changes in the ritual included changes about building a place for the ritual, the dress of ritual participants, the musical instruments used and the steps in the ritual. 4) An approach for preserving the tradition is to have government and private sector agencies see its importance and to directly intervene to provide more support and assistance for the continuation of the Manorah folk dance art form; to have Manorah dance troupes perform the Rong Kru ritual properly; to include Manorah dance in the curriculum of schools to teach younger generations; to transfer theoretical and practical knowledge of the art form to interested persons; and to respect, praise and give moral support to Manorah dance artists so that they will have the will to continue on with this folk art tradition for a long timeen_US
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons