กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1211
ชื่อเรื่อง: ความเชื่อและพิธีกรรมโนราโรงครู : กรณีศึกษาอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Beliefs and rituals of Nora Rong Kru : a case study in Tung Song District, Nakhon Si Tammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิกรม กรุงแก้ว, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
ความเชื่อ--ไทย
โนรา--ไทย(ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ความเชื่อ และพิธีกรรมโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อและพิธีกรรมโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 4) แนวทางในการอนุรักษ์โนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโนราโรงครู 3 คน ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดให้ประกอบพิธีกรรม 2 คน ผู้มีเชื้อสายโนรา 5 คน และผู้เข้าร่วมพิธีกรรม 20 คน รวม ทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับโนราโรงครู ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดจากความเชื่อของ ปู่ ยา ตา ยาย ในสมัยโบราณนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อบรรพบุรุษสิ้นชีวิต ลงก็ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกหลานอยู่ หากผู้ใดปฏิบัติตนผิดธรรมเนียมจารีตทางศีลธรรม ละเลยต่อตายายมโนราห์ ก็จะลงโทษให้ป่วยไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ จึงตั้งโรงครูขึ้นเพื่อเป็นการแก้บน และขอขมาในสิ่งที่เกิดขึ้น 2) ความเชื่อ ได้แก่ ความเชื่อก่อนการประกอบพิธีกรรม ความเชื่อในขั้นประกอบพิธีกรรม และความเชื่อหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรม ซึ่งทุกขั้นตอนจะสอดแทรกคติธรรมคำสอน เช่นความเชื่อในการบูชาบรรพบุรุษ เพื่อให้ลูกหลานมีความเคารพ ในส่วนพิธีกรรม ได้แก่ รูปแบบของการประกอบพิธีกรรม การปลูกสร้างโรงพิธี เครื่องสังเวยและเครื่องบูชาในพิธีกรรม การแต่งกายของผู้ประกอบพิธีกรรม เครื่องดนตรีในพิธีกรรม และขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม โดยจะมีเพียง 1 คืน 1 วัน ซึ่งจะเริ่มพิธีกรรมในวันพุธเวลาพลบค่ำ และเสร็จสิ้นพิธีกรรมในวันพฤหัสบดีเวลาบ่าย ไม่มีการเล่น 12 เรื่อง การรีบแทงเข้ และการรำถีบหัวควาย มีเพียงการรำคล้องหงส์เท่านั้น 3) การเปลี่ยนแปลงของความเชื่อ ได้แก่ การดูฤกษ์ยาม การยกเครื่อง การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การนับถือครูหมอตา ยายมโนราห์ การแต่งหน้าและแต่งกาย การรักษาโรค และการถอดเครื่องแต่งกาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรม ได้แก่ การปลูกสร้างโรงพิธี การแต่งกายของผู้ประกอบพิธีกรรม เครื่องดนตรีในพิธีกรรม และขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม 4) แนวทางในการอนุรักษ์โนราโรงครู หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ต้องเล็งเห็นความสำคัญ ในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านมโนราห์ ตลอดจนสอดส่องดูแลให้ความช่วยเหลือรวมทั้งเจ้าของคณะมโนราห์จะต้องปฏิบัติพิธีกรรมให้เกิดความถูกต้อง รวมถึงนำการแสดงพื้นบ้านมโนราห์บรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน และยกย่อง เชิดชูเกียรติเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ศิลปินมโนราห์ได้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านได้อย่างยาวนาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1211
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม40.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons