Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน | th_TH |
dc.contributor.author | สมปรารถนา จินดารัตนวรกุล | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-06-04T02:51:11Z | - |
dc.date.available | 2024-06-04T02:51:11Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12120 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภากาชาดไทย (2) ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (3) พฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสนับสนุนการรณรงค์บริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภากาชาดไทย (4) ความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับทัศนคติในการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (5) ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กับทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต (6) ความแตกต่างระหว่าง ลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสนับสนุนการรณรงค์บริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภาภาชาดไทย จำนวน 400 คน ได้มาจากการการสุ่มตัวอย่างเชิงระบบ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจก แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยใช้เฟซบุ๊กของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้ส่วนใหญ่ใช้เพื่อศึกษาข้อมูลข่าวสารความรู้ ได้รับรู้โพสต์ข่าวผ่านหน้า Feed/Timeline 1 ครั้งต่อวัน มีปฏิสัมพันธ์โดยการกด Like กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยใช้เมื่อมาบริจาคโลหิตหรือต้องการทราบข้อมูล ได้รับรู้โพสต์ข่าวผ่านหน้า Feed 1 ครั้งต่อวัน มีปฏิสัมพันธ์ โดยกด Like ข่าว (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตทั้งด้านภาพรวม ด้านสุขภาพ และด้านจิตใจ อยู่ในระดับมาก (3) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสนับสนุนการรณรงค์การบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยการกด Like และกด Share ข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนบริจาคโลหิต ข่าวกิจกรรมการบริจาค โลหิตวาระโอกาสพิเศษ ตารางหน่วยเคลื่อนที่ประจำวัน ข่าวความต้องการโลหิตประจำวัน โพสต์ภาพตัวเอง เพื่อน ครอบครัวขณะมาบริจาคโลหิต โพสต์ภาพตึกศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และ Check In สถานที่ สำหรับในเฟซบุ๊กแฟนเพจมีการสื่อสาร เพิ่มเติมคือ การกด Tag ภาพข่าวกิจกรรมการบริจาคโลหิตเพื่อเชิญชวนเพื่อน ๆ มาร่วมบริจาคโลหิต การกด Tag ข่าวความต้องการโลหิตจากเพื่อนและครอบครัว และการโพสต์ข่าวเชิญชวนเพื่อน ๆ และครอบครัวมาบริจาคโลหิตในโอกาสพิเศษ (4) ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตทั้งในด้านภาพรวม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นเพียงตัวแปรเดียวคือ อาชีพที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตด้านจิตใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตทั้งในด้านภาพรวม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ ศาสนา การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ เพื่อสนับสนุนการรณรงค์บริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภากาชาดไทย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. | th_TH |
dc.subject | ทัศนคติ | th_TH |
dc.subject | การสื่อสาร--แง่จิตวิทยา. | th_TH |
dc.subject | การสื่อสารข้อมูล | th_TH |
dc.subject | เฟซบุ๊ค | th_TH |
dc.subject | การประชาสัมพันธ์ | th_TH |
dc.title | ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพื่อสนับสนุนรณรงค์การบริจาคโลหิต ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Attitude and communication behavior through Facebook for supporting blood donation campaign of the National Blood Center, the Thai Red Cross Society | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study (1) the exposure of blood donors at the National Blood Center of the Thai Red Cross Society to the blood center's Facebook page; (2) their attitudes about blood donation; (3) their communication behavior on the blood center's Facebook fanpage in support of the Red Cross blood drive; (4) the relationship of demographic factors with blood donor's attitudes about blood donation; (5) the relationship of blood donors' exposure to the blood center's Facebook page with their attitudes about blood donation; and (6) the relationship between demographic factors and blood donors' communication behavior on the blood center's Facebook fanpage in support of the Red Cross blood drive. This was a survey research, using questionnaires to collect data. The sample population was 400 people who went to donate blood at the National Blood Center of the Thai Red Cross Society, chosen through systematic sampling. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t test, and ANOVA. The results showed that (1) Most of the survey respondents had never accessed the National Blood Center of the Thai Red Cross Society's Facebook page. Those that had visited it mostly did so to find news and information and looked at posts on the page's feed/timeline once a day. They interacted by clicking "Like." Most of the survey respondents had accessed the National Blood Center of the Thai Red Cross Society's Facebook fanpage. They visited it mostly when they donated blood and when they wanted information. They were updated of news on the page's feed/timeline once a day. They interacted by clicking "Like" on news items. (2) Most of the respondents had very positive attitudes about donating blood, both overall and in the aspects of physical health and emotional health. (3) The main communication behavior on the blood center's Facebook fanpage in support of the Red Cross blood drive of the majority of samples was to click "Like" and "Share" on public relations information campaign for donating blood, news about blood drawing activities for special occasions, the daily schedule for mobile blood drawing units, news about the need for blood at hospitals, and to post photos of themselves, their friends or family members donating blood, post photos of the building and to Check In that they visited. On the fanpage they also communicated by tagging friends in items announcing blood drawing events to ask them to come and give blood, tagging posts about acquaintances who were in need of blood transfusions, and posting items inviting friends and family members to give blood on certain occasions. (4) Most demographic factors were not significantly correlated to attitudes about donating blood, both overall and in the aspects of physical health and emotional health, with the exception of the variable of occupation, which was correlated at .05 significance level. (5) There was a statistically significant relationship between blood donors' exposure to the blood center's Facebook page and their attitudes about blood donation both overall and in the aspects of physical health and emotional health. (6) The demographic factors of sex, religion, educational level, and occupation were not significantly correlated with blood donors' communication behavior on the blood center's Facebook fanpage in support of the Red Cross blood drive. | en_US |
Appears in Collections: | Comm-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159658.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License