กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12120
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กเพื่อสนับสนุนรณรงค์การบริจาคโลหิต ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attitude and communication behavior through Facebook for supporting blood donation campaign of the National Blood Center, the Thai Red Cross Society
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน
สมปรารถนา จินดารัตนวรกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.
ทัศนคติ
การสื่อสาร--แง่จิตวิทยา.
การสื่อสารข้อมูล
เฟซบุ๊ค
การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภากาชาดไทย (2) ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (3) พฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสนับสนุนการรณรงค์บริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภากาชาดไทย (4) ความแตกต่างระหว่างลักษณะประชากรกับทัศนคติในการบริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (5) ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กับทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต (6) ความแตกต่างระหว่าง ลักษณะประชากรกับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสนับสนุนการรณรงค์บริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภาภาชาดไทย จำนวน 400 คน ได้มาจากการการสุ่มตัวอย่างเชิงระบบ เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการแจก แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยใช้เฟซบุ๊กของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้ส่วนใหญ่ใช้เพื่อศึกษาข้อมูลข่าวสารความรู้ ได้รับรู้โพสต์ข่าวผ่านหน้า Feed/Timeline 1 ครั้งต่อวัน มีปฏิสัมพันธ์โดยการกด Like กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยใช้เมื่อมาบริจาคโลหิตหรือต้องการทราบข้อมูล ได้รับรู้โพสต์ข่าวผ่านหน้า Feed 1 ครั้งต่อวัน มีปฏิสัมพันธ์ โดยกด Like ข่าว (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตทั้งด้านภาพรวม ด้านสุขภาพ และด้านจิตใจ อยู่ในระดับมาก (3) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจเพื่อสนับสนุนการรณรงค์การบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โดยการกด Like และกด Share ข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนบริจาคโลหิต ข่าวกิจกรรมการบริจาค โลหิตวาระโอกาสพิเศษ ตารางหน่วยเคลื่อนที่ประจำวัน ข่าวความต้องการโลหิตประจำวัน โพสต์ภาพตัวเอง เพื่อน ครอบครัวขณะมาบริจาคโลหิต โพสต์ภาพตึกศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และ Check In สถานที่ สำหรับในเฟซบุ๊กแฟนเพจมีการสื่อสาร เพิ่มเติมคือ การกด Tag ภาพข่าวกิจกรรมการบริจาคโลหิตเพื่อเชิญชวนเพื่อน ๆ มาร่วมบริจาคโลหิต การกด Tag ข่าวความต้องการโลหิตจากเพื่อนและครอบครัว และการโพสต์ข่าวเชิญชวนเพื่อน ๆ และครอบครัวมาบริจาคโลหิตในโอกาสพิเศษ (4) ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตทั้งในด้านภาพรวม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นเพียงตัวแปรเดียวคือ อาชีพที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตด้านจิตใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากเฟซบุ๊กศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตทั้งในด้านภาพรวม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ ศาสนา การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจ เพื่อสนับสนุนการรณรงค์บริจาคโลหิตของผู้บริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภากาชาดไทย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12120
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159658.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons