Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12133
Title: การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรของตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Exposure to media about pesticide use of farmers in Thung Luang Sub-district, Pak Tho District, Ratchaburi Province
Authors: ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวิทย์ ธนวิชากร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สารเคมีทางการเกษตร
ยากำจัดศัตรูพืช
สารเคมี--มาตรการความปลอดภัย
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 2) พฤติกรรมการ เปิดรับสื่อเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัด ราชบุรี เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากร การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลาย ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และไคส แควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ โทรทัศน์มากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 63.7 พฤติกรรมกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์และสื่อบุคคล ส่วนใหญ่ เปิดรับฟังเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.2, 62.7 และ 62.5 ตามลำดับ เวลาที่เปิดรับฟังและชมรายการจากสื่อวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์มากที่สุด คือ ช่วง บ่าย คิดเป็นร้อยละ 29.8 และ 35.5 ส่วนสื่อบุคคล จะเปิดรับเวลากลางคืนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.4 สถานที่ในการเปิดรับมากที่สุดทุกสื่อคือ ที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 76.3, 97.3 และ48.6 ตามลำดับ และได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้นในทุกสื่อ คิดเป็นร้อยละ 90.8, 88.6 และ 92.0 ตามลำดับ 2) เกษตรกรที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ บุคคลเกี่ยวกับเนื้อหาที่สนใจมากที่สุดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ เกษตรกรที่มีรายได้แตกต่างกันมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์และสื่อ บุคคล ด้านประเภทเนื้อหาที่สนใจ เวลา สถานที่ที่เปิดรับแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12133
Appears in Collections:Comm-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
136688.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons