กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12146
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารของสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication of community council of lamor Sub-district, Na Yong ‬District Trang Province for solving land tenure problems
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุดมศรี ศิริลักษณาพร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการเกษตร
ที่ดินเพื่อการเกษตร--ไทย--ตรัง
การศึกษาอิสระ--นิเทศศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสื่อสารของสภา องค์กรชุมชนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกิน และ 2) ผลที่เกิดจาก กระบวนการสื่อสารของสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ (1) ที่ปรึกษาและคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล ละมอ จำนวน 4 คน (2) ตัวแทนผู้เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน ที่เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการ จำนวน 8 คน (3) ตัวแทนท้องถิ่น ท้องที่ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสารของสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ อำเภอนา โยง จังหวัดตรังประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร ได้แก่ คณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ (2) สารที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ได้แก่ ข้อมูลเชิงกฎหมาย ข้อมูลเชิงนโยบาย ข้อมูลความ เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน (3) สื่อที่ใช้ในการ สื่อสาร ประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อชุมชน สื่อกิจกรรม สื่อเฉพาะกิจ สื่อมวลชน และสื่อใหม่ (4) ผู้รับสาร ได้แก่ ประชาชนที่เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ที่ดินทำกิน และสื่อมวลชนทั้งจากภูมิภาค และส่วนกลาง 2) ผลที่เกิดจากจากกระบวนการสื่อสาร ของสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง จำแนกได้เป็น 3 ด้านคือ (1) เกิดการมี ส่วนร่วมระหว่างประชาชนที่เดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน กับสภาองค์กรชุมชนตำบลละมอ (2) เกิด แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินที่เป็นรูปธรรม และ (3) ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12146
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148723.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons