กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1214
ชื่อเรื่อง: | ความต้องการของบุตรวัยรุ่นต่อการปฏิบัติตนของบิดามารดาในจังหวัดสมุทรสงคราม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Parenting practice needs of adolescent in Samut Songkhram Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลกานต์ อภิวัฒนลังการ จงกลนี จริตธรรม, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิตตินันท์ เดชะคุปต์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ วัยรุ่น--ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความต้องการ (จิตวิทยา) บิดามารดาและบุตร |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มึวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการของบุตรวัยรุ่นต่อการปฏิบัติตน ของบิดามารดาในจังหวัดสมุทรสงคราม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 2,568 คน ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพี้นฐานในจังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 320 คนซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน การศึกษาครั้งนี้เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนี้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการของบุตรวัยรุ่นที่มีต่อการปฏิบัติตนของบิดามารดา จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ความต้องการของบุตรวัยรุ่นที่มีต่อการปฏิบัติตนของทั้งบิดาและมารดา ความต้องการการปฏิบัติตนจากบิดามากกว่ามารดา และความต้องการการปฏิบัติตนจากมารดามากกว่าบิดา ประเด็นที่บุตรวัยรุ่นต้องการการปฏิบัติตนของทั้งบิดาและมารดามากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ 1) การจัดหาอาหารที่บุตรชอบ และมีประโยชน์ 2) การแนะนำอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถ และ 3) การสอนและการเป็นแบบอย่างที่ดีในการเข้าสังคม ในขณะที่ประเด็นที่บุตรวัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องการการปฏิบัติตนจากบิดามากกว่ามารดา ได้แก่ 1) การจัดสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย 2) การสอนลักษณะเพื่อนที่ควรคบ และ 3) การมีความยุติธรรมกับลูกทุกคน ส่วนประเด็นที่บุตรวัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องการการปฏิบัติตนจากมารดามากกว่าบิดา 3 ลำดับแรก คือ 1) การให้ความรัก ความอบอุ่นห่วงใย 2) การอธิบายเรื่องเพศศึกษาให้เข้าใจ และไม่คลุมเครือ และ 3) สนับสนุนในเรื่องอุปกรณ์การเรียน และเงินทุนการศึกษา |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1214 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Hum-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext 99025.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License