Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorภัคนา รัตนพงศ์, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-29T02:33:40Z-
dc.date.available2022-08-29T02:33:40Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1215-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราชวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจชั้นปีที่ 1 และ 2 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1,004 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คนโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และแบ่งชั้นภูมิตามสถานศึกษา ระดับชั้นปีและกลุ่มสาขาวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบและแบบสอบถามที่พัฒนาจากมาตรฐานการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (ACRL) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ใช้วิธีการของเชฟเฟ่ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับการรู้สารสนเทศในระดับน้อย ทุกมาตรฐานและทุกกลุ่มสาขาวิชา ยกเว้นประเด็นการกำหนดขอบเขตสารสนเทศมีระดับการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลางและกลุ่มสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีระดับการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพอใช้มีระดับการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับน้อย (2) เปรียบเทียบการรู้สารสนเทศจำแนกตามระดับชั้นปี กลุ่มสาขาวิชาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในระดับชั้นปีที่ต่างกันมีระดับการรู้สารสนเทศแตกต่างกัน โดยนักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 มีระดับการรู้สารสนเทศสูงกว่านักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกันมีระดับการรู้สารสนเทศแตกต่างกัน โดยนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีระดับการรู้สารสนเทศสูงกว่าทุกกลุ่มสาขาและเมื่อเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีระดับการรู้สารสนเทศไม่แตกต่างกันและ (3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการรู้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าค่าคะแนนสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ รองลงมาเป็น ปัญหาด้านทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ปัญหาด้านทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ และปัญหาด้านทักษะการใช้สารสนเทศth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.403-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้--นักศึกษาth_TH
dc.subjectการรู้สารสนเทศth_TH
dc.titleการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราชth_TH
dc.title.alternativeInformation literacy of High Vocational Certificate students in Business Administration Programs at Nakhorn Si Thammarat Southern Vocational Collegeth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2013.403-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to study the information literacy level of students in Business Administration programs at Nakhorn Si Thammarat Southern Vocational College; (2) to compare the information literacy level of students in Business Administration programs at Nakhorn Si Thammarat Southern Vocational College; (3) to study the problems in the information literacy level of students in Business Administration programs at Nakhorn Si Thammarat Southern Vocational College. This research was a survey study and the population was 1,004 students studying at Nakhorn Si Thammarat Southern Vocational College in 2013. This sample (297 students) was drawn through a stratified random sampling procedure. A test and a questionnaire based on the Information Literacy Competency Standards for Higher Education of the Association of College and Research Libraries(ACRL) were used. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and Scheffe’s test. The research findings are: (1) The information literacy level of most higher vocational certificate students was at a low level for every information literacy standard and every academic major, except that the information identification issue was at a moderate level and the information literacy level of Business Computer major students was at a moderate level. However, students with a moderate level of grade point average were at a low level. (2) The students’ information literacy level in class level compares with grade point average found a statistical significance of .01. Students in year 1 had a higher information literacy level than students in year 2. The grade point average level compares between students in the Business Computer major had a higher information literacy level than those in other majors found no statistical significance. (3) Problems with and obstacles to the students’ overall information literacy were at a low level. These include the environment for promoting information literacy, followed by problems of information access skills, information resources and sources, and information use skillsen_US
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (3).pdfเอกสารฉบับเต็ม25.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons