กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1215
ชื่อเรื่อง: การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information literacy of High Vocational Certificate students in Business Administration Programs at Nakhorn Si Thammarat Southern Vocational College
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
ภัคนา รัตนพงศ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้--นักศึกษา
การรู้สารสนเทศ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราชวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจชั้นปีที่ 1 และ 2 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1,004 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คนโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และแบ่งชั้นภูมิตามสถานศึกษา ระดับชั้นปีและกลุ่มสาขาวิชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบและแบบสอบถามที่พัฒนาจากมาตรฐานการรู้สารสนเทศของสมาคมห้องสมุดมหาวิทยาลัยและวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (ACRL) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างรายคู่ใช้วิธีการของเชฟเฟ่ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับการรู้สารสนเทศในระดับน้อย ทุกมาตรฐานและทุกกลุ่มสาขาวิชา ยกเว้นประเด็นการกำหนดขอบเขตสารสนเทศมีระดับการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลางและกลุ่มสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีระดับการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพอใช้มีระดับการรู้สารสนเทศอยู่ในระดับน้อย (2) เปรียบเทียบการรู้สารสนเทศจำแนกตามระดับชั้นปี กลุ่มสาขาวิชาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักศึกษาที่ศึกษาในระดับชั้นปีที่ต่างกันมีระดับการรู้สารสนเทศแตกต่างกัน โดยนักศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1 มีระดับการรู้สารสนเทศสูงกว่านักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มสาขาวิชาที่ศึกษา พบว่า นักศึกษาที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกันมีระดับการรู้สารสนเทศแตกต่างกัน โดยนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีระดับการรู้สารสนเทศสูงกว่าทุกกลุ่มสาขาและเมื่อเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่ามีระดับการรู้สารสนเทศไม่แตกต่างกันและ (3) ปัญหาและอุปสรรคต่อการรู้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าค่าคะแนนสูงสุดได้แก่ ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ รองลงมาเป็น ปัญหาด้านทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ปัญหาด้านทรัพยากรสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ และปัญหาด้านทักษะการใช้สารสนเทศ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1215
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (3).pdfเอกสารฉบับเต็ม25.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons