Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12175
Title: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการขอทาน : ศึกษากรณี กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อสงเคราะห์คนขอทาน
Other Titles: Problems regarding beggar control act enforcement : a study of the quality of life development process for helping the beggar
Authors: วรรณวิภา เมืองถํ้า
สีไทย วงษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: คุณภาพชีวิต
ขอทาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ขอทาน--การควบคุุม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและสภาพปัญหาในกระบวนการคัดกรองเพื่อคัดแยกกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์มาตรการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนขอทาน และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องอำนาจในการจับกุม ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการเริ่มต้นของกระบวนการคัดแยกกลุ่มเป้าหมายนั้นทีมสหวิชาชีพมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเข้าไปมีบทบาทในการคัดกรองว่ามีกระบวนการในการคัดกรองตามกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ แต่จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 ยังไม่ครอบคลุมถึงกระบวนการคัดกรองเพื่อคัดแยกกลุ่มเป้าหมายโดยทีมสหวิชาชีพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโดยกำหนดให้มีคณะทำงานของทีมสหวิชาชีพไว้อย่างชัดเจนในกฎหมาย อีกทั้งอำนาจในการจับกุมผู้กระทำผิดนั้นยังไม่มีการบัญญัติให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีอำนาจในการจับกุมและมีอำนาจในการเปรียบเทียบปรับจึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามามีอำนาจทั้งในการจับกุมและเปรียบเทียบ และข้อเสนอแนะประการสุดท้าย คือ ควรกำหนดระยะเวลาการอยู่ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนขอทานให้ชัดเจน เนื่องจากหากระยะเวลาเน่นนานอาจเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนขอทานได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12175
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156623.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons