กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12176
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านคดี : ศึกษาเฉพาะคำนิยามผู้บริโภค คดีผู้บริโภคและการฟ้องคดีผู้บริโภค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer protection law problem : a case study of definition of consumer, consumer case, and consumer case litigation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิมาน กฤตพลวิมาน
สายฝน ศรีทอง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
คดีและการสู้คดี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระในเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความหมายความเป็นมาแนวคิด และทฤษฎีของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของต่างประเทศและประเทศไทย ศึกษาถึงปัญหาของคำนิยาม "ผู้บริโภค" "คดีผู้บริโภค" และปัญหาในการฟ้องคดีผู้บริโภค เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขเกี่ยวกับปัญหา ดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยทางกฎหมาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการค้นคว้าข้อมูลทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตำราของนักวิชาการ บทความเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และเอกสารอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 นิยามคำว่า "ผู้บริโภค" หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งมีความหมายกว้างมาก โดยไม่มีข้อความที่กำหนด วัตถุประสงค์ของการบริโภคไว้ให้ชัดเจน และนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดี ผู้บริโภค พ.ศ.2551 บัญญัติว่าคดีผู้บริโภคเป็นคดีแพ่งที่พิพาทกันระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ นอกจากนี้บัญญัติว่า การฟ้องคดีผู้บริโภค โจทก์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ทำให้โจทก์ในคดีผู้บริโภคจะเป็นผู้บริโภคหรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ เมื่อวิเคราะห์คำนิยามทั้งสองแล้ว บุคคลที่จะเป็นผู้บริโภคจึงเป็นผู้ที่ซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม ก็ถือเป็นผู้บริโภค และผู้เป็นโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องก็เป็นผู้ประกอบธุรกิจเสียส่วนใหญ่ ซึ่งไม่เป็นไปตามเหตุผลในการประกาศใช้พระราชวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ที่บัญญัติเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาด้วยความรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพอันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาเห็นว่ามีประเด็นปัญหาที่ต้องเสนอแนะแนวทางแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้นและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12176
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158879.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons