Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12187
Title: ผลกระทบของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ที่มีต่อผู้ประกอบการ
Other Titles: The effect of product liability law B.E. 2551 to entrepreneurs
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติชัย ไพบูลย์อภิบาล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง ผลกระทบของพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและ สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยของ ไทยและที่มีบัญญัติไว้ในต่างประเทศ ตลอดจนวิเคราะห์พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 สภาพปัญหา และผลกระทบที่อาจมีขึ้นจากการ บังคับใช้ตามกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการ วิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำราทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ประกอบด้วย หนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของ ศาล และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า กฎหมายหลักความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าไม่ ปลอดภัย หรือ "product liability" ของต่างประเทศนั้น ถือเป็นหลักการที่ให้ความสำคัญต่อชีวิตและ สุขภาพของประชาชน ซึ่งในหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ สหพันธรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น ได้มีกฎหมาย เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะ โดยมีหลักการเป็นสำคัญว่า หากผู้บริโภคได้รับความ เสียหายจากการใช้สินค้านั้น ผู้ผลิตหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดจากการศึกษาวิจัยได้มีข้อเสนอแนะ เพื่อให้กฎหมายความรับผิดต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยมีประสิทธิภาพใน ประเด็นปัญหาที่ควรนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนี้ คือ ควรให้มีข้อยกเว้นความรับผิด ของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้นนำมาใช้ในการผลิต อย่างสุจริต ซึ่งในต่างประเทศยอมรับภายใต้หลักการผลิตที่สุจริต แม้จะนำสืบยากแต่ก็ควรมีการ กำหนดไว้ เพราะเป็นสิ่งที่จะสร้างให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อให้ได้รับการยอมรับ จากผู้บริโภคและศาล ทั้งหมดนี้เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและสร้างความ ยุติธรรม ให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตกับผู้บริโภคนั่นเอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12187
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142299.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons