Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12189
Title: ความรับผิดต่อไปรษณียภัณฑ์ของไปรษณีย์ไทยตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์
Other Titles: Liability of Thailand Post Co., Ltd. towards postal packages pursuant to Postal Act
Authors: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
เกียรติศักดิ์ ช้างเยาว์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิด (กฎหมาย)--ไทย
ความรับผิดชอบในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงขอบเขตและข้อจำกัดความรับผิดต่อไปรษณียภัณฑ์ของไปรษณีย์ไทยที่บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด มีการให้บริการขนส่งอยู่ในปัจจุบันว่ามีความรับผิดต่อไปรษณียภัณฑ์ต่าง ๆ เพียงใด และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมาย โดยเสนอแนะแนวทางวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน หลักที่สำคัญของการวิจัย คือเพื่อให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตลอดจนพนักงานไปรษณีย์ได้ตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อไปรษณียภัณฑ์มากขึ้น รวมไปถึงการบริการที่บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ให้บริการกับไปรษณียภัณฑ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2557 โดยศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายไปรษณีย์ของประเทศเยอรมันและ ประเทศอังกฤษผลการศึกษา พบว่า พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 ประกอบกับ ไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสมุดกฎ ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มีบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 ที่จำกัดวามรับผิดไว้ ผู้ศึกษาวิจัย จึงได้มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว และเสนอแนวทางในการดำเนินงานไปรษณีย์ไว้ โดยให้ยกเลิกบทบัญญัติ ที่จำกัดความรับผิดนั้น โดยนัยและป้องกันไม่ให้พนักงานไปรษณีย์ของหน่วยงานกระทำการ โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่เกิดความเสียหาย สูญหาย ส่งช้า ส่งผิด ต่อไปรษณียภัณฑ์ และหากมีเหตุความเสียหาย สูญหาย ส่งช้า ส่งผิด ต่อไปรษณียภัณฑ์ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ต้องร่วมรับผิดด้วย และนำหลักการของการแข่งขันในเชิงธุรกิจอย่างยุติธรรมเสมอภาค ระหว่างภาครัฐและเอกชนของต่างประเทศที่เปรียบเทียบไว้มาปรับใช้และลดอำนาจการผูกขาด และเปลี่ยนมาเป็นผู้ควบคุมและพันธมิตรกับภาคเอกชนแทน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12189
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158868.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons