Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1218
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มัลลิกา มัสอูดี | th_TH |
dc.contributor.author | ศศิพริมม์ มัธยัสถ์สุข, 2516- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-29T02:55:20Z | - |
dc.date.available | 2022-08-29T02:55:20Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1218 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 | th_TH |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิถีชีวิต และค่านิยมของคนไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นช่วงที่เหตุการณ์บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยางมากทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ปรากฏในนว-นิยายของ ว.วินิจฉัยกุลวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากนวนิยายจำนวน 5 เรื่อง คือ สองฝั่ง-คลอง ราตรีประดับดาว มาลัยสามชาย มาลัยลายคราม และเหลี่ยมดาริกา และสัมภาษณ์ผู้ประพันธ์ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์เนื้อหาในนวนิยายพบลักษณะของวิถีชีวิตและค่านิยมที่เป็นจุดเด่นของสังคมไทยดังนี้ 1) วิถีชีวิตของครอบครัวไทยจะเลี้ยงดูพ่อแม่หรือปู่ ยาตายายยามแก่เฒ่า ไม่ทอดทิ้งแม้อยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม 2) สมัยโบราณผู้ชายไทยมีบทบาทในการเป็นผู้นำครอบครัวส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่มีบทบาทเป็นเพียงแม่บ้าน ดูแลลูกและสามี แต่ก็พบว่าเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในครอบครัว ผู้หญิงสามารถเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้นำและดูแลครอบครัวได้ดี 3) ในช่วงเวลาที่คนไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การดำรงชีวิตยากลำบากเนื่องจากขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภค พบว่าในสังคมไทยมีการช่วยเหลือ เกื้อกูล และแบ่งปันกัน 4) ยุคก่อนรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 โอกาสทางการศึกษาและการทำงานนอกบ้านของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 โอกาสทางการศึกษาและการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงมีมากขึ้นแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าผู้ชาย 5) พุทธศาสนามี อิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตประจำวันและความเชื่อของคนไทย ชาวไทยพุทธเชื่อว่าการดำเนินชีวิตตามแนวทางของศาสนาเป็นสิ่งดีงาม 6) สมัยก่อนพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่มีอิทธิพลมากในการเลือกคู่ครองของบุตรหลาน โดยจะเลือกคู่ครองที่มีชาติตระกูลและความประพฤติดี ผลการสัมภาษณ์ผู้ประพันธ์ได้ข้อมูลที่สำคัญและสอดคล้องกับผลการศึกษาดังนี้คือ 1) ค่านิยมเรื่องชาติตระกูลดีน่าจะมาจากความนิยมระบบศักดินาในยุคก่อน 2) พุทธศาสนามีอิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ 3) ด้านการศึกษา ผู้ประพันธ์เห็นว่าผู้หญิงสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 มีโอกาสทางการศึกษาดีขึ้น แต่โอกาสในการประกอบอาชีพบางอย่างก็ยังไม่เท่าเทียมผู้ชาย | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ค่านิยม--ไทย | th_TH |
dc.subject | ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที่ 7, 2468-2477 | th_TH |
dc.subject | ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที่ 8, 2477-2489 | th_TH |
dc.title | วิถีชีวิตและค่านิยมของคนไทยสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 ในนวนิยายของ ว.วินิจฉัยกุล | th_TH |
dc.title.alternative | Way of life and cultural values of Thais During the Reign of King Rama VII to King Rama VIII in V.Vinicchayakul's Novels | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศิลปศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study the way of life and the cultural values of Thai people during the reign of King Rama VII to King Rama VIII, a period in which the society changed greatly due to internal and external factors, as reflected in novels written by V. Vinicchayakul. This research was a qualitative research. The data from 5 of V. Vinicchayakul’s novels i.e., Song-Fung Klong, Ra-Tee-Pra-Dub-Dao, Ma-Lai-Sam-Chai, Ma-Lai-Line-Kram and Lium-Da-Ri-Ka, were analyzed. An unstructured interview of the author, Associate Professor Dr. Khunying Vinita Dithiyont, was also included. Data were analyzed through descriptive analysis. Content analysis of 5 of V. Vinicchayakul’s novels revealed the following about the ways of life and the cultural values of Thai people: 1) Thai families looked after their old parents or grandparents and did not abandon them even during times of economic or social crisis. 2) ) In the past, the role of Thai males was to be the family leader while the majority of Thai females were housewives and looked after their husband and children, but when changes occurred in a family, the female could take over the role of family leader and accomplish it well. 3) When Thai people were affected by the 2nd World War, they suffered from lack of basic necessities, but people in society were helpful, mindful of each other and shared what they had. 4) Before the reigns of King Rama VII to King Rama VIII, Thai males had more opportunities for studying and working outside the home than females did, and during the reign of King Rama VII and King Rama VIII females gained more opportunities for studying and working outside the home, but they were still not as well accepted as males. 5) Buddhism heavily influenced the beliefs and the way of life of Thai people, and Thai Buddhists believed that living a religious life was good and beautiful. 6) In the past, parents or senior relatives had a strong influence on their children’s choice of spouse, and they always chose one with a respectable family background and good behavior. Important information from the interview with the author that supported these findings was: 1) the cultural value about good family background might come from feudalism in the past; 2) Buddhism had a strong influence on the way of life of Thai Buddhists; and 3) for the author’s opinion on education, during the reign of King Rama VII to King Rama VIII, females had better opportunities for studying but their opportunities to do certain careers were still unequal to males. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล | th_TH |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (5).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License