Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1218
Title: | วิถีชีวิตและค่านิยมของคนไทยสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 ในนวนิยายของ ว.วินิจฉัยกุล |
Other Titles: | Way of life and cultural values of Thais During the Reign of King Rama VII to King Rama VIII in V.Vinicchayakul's Novels |
Authors: | มัลลิกา มัสอูดี ศศิพริมม์ มัธยัสถ์สุข, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ค่านิยม--ไทย ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที่ 7, 2468-2477 ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี--กรุงรัตนโกสินทร์--รัชกาลที่ 8, 2477-2489 |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิถีชีวิต และค่านิยมของคนไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นช่วงที่เหตุการณ์บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยางมากทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ปรากฏในนว-นิยายของ ว.วินิจฉัยกุลวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากนวนิยายจำนวน 5 เรื่อง คือ สองฝั่ง-คลอง ราตรีประดับดาว มาลัยสามชาย มาลัยลายคราม และเหลี่ยมดาริกา และสัมภาษณ์ผู้ประพันธ์ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์เนื้อหาในนวนิยายพบลักษณะของวิถีชีวิตและค่านิยมที่เป็นจุดเด่นของสังคมไทยดังนี้ 1) วิถีชีวิตของครอบครัวไทยจะเลี้ยงดูพ่อแม่หรือปู่ ยาตายายยามแก่เฒ่า ไม่ทอดทิ้งแม้อยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและสังคม 2) สมัยโบราณผู้ชายไทยมีบทบาทในการเป็นผู้นำครอบครัวส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่มีบทบาทเป็นเพียงแม่บ้าน ดูแลลูกและสามี แต่ก็พบว่าเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในครอบครัว ผู้หญิงสามารถเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้นำและดูแลครอบครัวได้ดี 3) ในช่วงเวลาที่คนไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การดำรงชีวิตยากลำบากเนื่องจากขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภค พบว่าในสังคมไทยมีการช่วยเหลือ เกื้อกูล และแบ่งปันกัน 4) ยุคก่อนรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 โอกาสทางการศึกษาและการทำงานนอกบ้านของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 โอกาสทางการศึกษาและการทำงานนอกบ้านของผู้หญิงมีมากขึ้นแต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับเท่าผู้ชาย 5) พุทธศาสนามี อิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตประจำวันและความเชื่อของคนไทย ชาวไทยพุทธเชื่อว่าการดำเนินชีวิตตามแนวทางของศาสนาเป็นสิ่งดีงาม 6) สมัยก่อนพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่มีอิทธิพลมากในการเลือกคู่ครองของบุตรหลาน โดยจะเลือกคู่ครองที่มีชาติตระกูลและความประพฤติดี ผลการสัมภาษณ์ผู้ประพันธ์ได้ข้อมูลที่สำคัญและสอดคล้องกับผลการศึกษาดังนี้คือ 1) ค่านิยมเรื่องชาติตระกูลดีน่าจะมาจากความนิยมระบบศักดินาในยุคก่อน 2) พุทธศาสนามีอิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตของชาวไทยพุทธ 3) ด้านการศึกษา ผู้ประพันธ์เห็นว่าผู้หญิงสมัยรัชกาลที่ 7 ถึงรัชกาลที่ 8 มีโอกาสทางการศึกษาดีขึ้น แต่โอกาสในการประกอบอาชีพบางอย่างก็ยังไม่เท่าเทียมผู้ชาย |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1218 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (5).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License