กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12191
ชื่อเรื่อง: มาตรการในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีการจัดเก็บภาษีขยะมูลฝอยโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The measures of environmental taxes collection : study in case of garbage tax collection by Local Government
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขวัญดาว วิเศษชาติ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อม
การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับขยะมูลฝอยใน ปัจจุบัน และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับขยะมูลฝอย (2) ศึกษาแนวคิด หลักการ และโครงสร้างในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม โดยเน้นศึกษาเฉพาะกรณีภาษีสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย เน้น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้บริหารการจัดเก็บภาษี ซึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น ผู้บริหารการจัดเก็บภาษีตลอดจนการจัดสรรรายได้ ให้แก่กองทุนสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นเพื่อใช้ใน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย ในต่างประเทศ และการนำเสนอแนวคิดในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป (4) หามาตรการและปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษี สิ่งแวดล้อมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย การศึกษาของงานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร จากการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ ตำรากฎหมาย ตำราวิชาการ ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความข่าว จากหนังสือพิมพ์ เอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงแนวทางในการ จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อสนับสนุนและเสนอแนะใน การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมขยะมูลฝอย ผลการศึกษาพบว่า การบัญญัติกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมแล้วจะพบว่าการจัดเก็บ ภาษีสิ่งแวดล้อมจะทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนในชุนชนต้องป้องกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การตรวจสอบการปล่อยมลพิษ และการทิ้งขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชน ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีแรงจูงใจจากรายได้ในการจัดเก็บภาษี และรัฐบาลสามารถ จะนำงบประมาณที่จากเดิมใช้จ่ายไปเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ รวมทั้ง การประกอบกิจการของโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจให้ บริการเหล่านั้นยังจะเป็นการประกอบ กิจการที่ยั่งยืน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12191
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150189.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons