กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12193
ชื่อเรื่อง: การใช้ดุลพินิจของศาลในกรณีมัดจำและเบี้ยปรับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Discretion of court in case of earnest and stipulated penalty
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทรา เดชกรกฎ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง การใช้ดุลพินิจของศาลในกรณีมัดจำและเบี้ยปรับมี วัตถุประสงค์เพื่อทราบแนวคิดการใช้ดุลพินิจ ความสำคัญ หลักในการใช้ดุลพินิจ ทฤษฎีกฎหมาย หลักการตีความกฎหมาย หลักสุจริต(Good Faith) หลักการอุดช่องว่างของกฎหมาย หลักกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เพื่อทราบความหมาย ความแตกต่างของมัดจำและเบี้ยปรับ การวิเคราะห์แนวทางการใช้ดุลพินิจของศาลให้สอดคล้องกับ มโนธรรม ศีลธรรมและความต้องการของคู่สัญญา โดยไม่เข้าไปแทรกแซงเจตนารมณ์ของคู่สัญญา และไม่ขัดต่อหลักพื้นฐานของสัญญาในเรื่องหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา (The Autonomy of the Will) และหลักเสรีภาพ (Freedom of contract) การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ด้วยวิธีการ วิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบจากเอกสารที่เป็นตัวบท กฎหมาย ตำราวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ คำพิพากษา ความเห็นทางกฎหมายและ ผลงานทางวิชาการอื่นๆตลอดจนข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆทางอินเตอร์เน็ตทั้งที่เป็น ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่าพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 บัญญัติขึ้นให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างเต็มที่ว่าข้อสัญญาหรือ ข้อตกลงใดที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม นอกจากนี้หากมัดจำและเบี้ยปรับที่จะริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการปรับลดลงได้ ซึ่งกรณีมัดจำนั้นศาลไม่น่าจะใช้ดุลพินิจในการปรับ ลดลงได้ อันเนื่องมาจากมัดจำเป็นการประกันความเสียหาย ดังนั้นการเปิดโอกาสให้ศาลสามารถ ใช้ดุลพินิจจึงอาจส่งผลกระทบต่อหลักพื้นฐานในการทำสัญญาในเรื่องหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการ แสดงเจตนา (The Autonomy of the Will) และหลักเสรีภาพ (Freedom of contract)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12193
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135428.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons