กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1219
ชื่อเรื่อง: | พระพุทธรูปลักษณะแบบใหม่ตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | King Chulalongkorn's stylistic changes to Buddhist iconography |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุดจิต เจนนพกาญจน์ พระแครอล บิลบรี, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิตรา วีรบุรีนนท์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ พระพุทธรูป |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัวทรงโปรดฯ ให้สร้างระหว่าง พ.ศ.2411-2453 (2) ศึกษาพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบพระพุทธรูป ให้มีลักษณะเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น (3) เปรียบเทียบลักษณะพระพุทธรูปในพระราชดำริกับพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างในรัชสมัยของพระองค์ก่อนหน้าที่จะทรงมีพระราชดำริ (4) ศึกษาผลของพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างพระพุทธรูปที่มีลักษณะตามพระราชดำริ (5) ศึกษาผลกระทบจากการสร้างพระพุทธรูปอันเกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักวิชาการ 6 คน ได้แก่ ภัณฑารักษ์ 2 คน ศาสตราจารย์ 1 คน รองศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ 1 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์โบราณคดี 1 คน อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ 1 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสังเกต และแบบสำรวจพระพุทธรูป การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า (1) พระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้สร้างระหว่าง พ.ศ. 2411-2453 มี 22 องค์ (2) พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัวเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบพระพุทธรูปว่าทรง “อยากเห็นพระพุทธรูปเป็นคน มีใบหน้าเป็นคนฉลาด อดทน มีความคิดไม่ใช่ทำหน้าบึ้ง ไม่ใช่นั่งยิ้มกริ้ม ไม่ใช่นั่งหลับ และมีสติสัมปชัญญะ” จึงเป็นเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปในพระราชดำริ (3) เปรียบเทียบลักษณะพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัวทรงโปรดฯ ให้สร้างในรัชสมัยของพระองค์ก่อนหน้าที่จะทรงมีพระราชดำริ โดยภาพรวมมีพระเกศาขมวด ไม่มีอุษณีษะ พระพักตร์กลม จีวรมีริ้ว หลังมีพระราชดำริ พระพุทธรูปมีลักษณะสมจริงมากยิ่งขึ้น (4) ผลของพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวกับการสร้างพระพุทธรูปที่มีลักษณะตามพระราชดำริ โดยมีพระพุทธรูป ที่สร้างตามพระราชดำริ สำเร็จ 6 องค์ (5) ผลกระทบที่เกิดจากการสร้างพระพุทธรูปตามพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งผลกระทบกับพุทธศิลป์คือทำให้หยุดชะงักในการสร้างสรรค์พระพุทธรูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนกลางจนถึงปัจจุบัน ทางด้านสังคม ทำให้เริ่มยุคพุทธศิลป์เชิงสัจนิยมขึ้นทางวัฒนธรรม มีการเปิดกว้าง ยอมรับในรูปแบบศิลปะที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1219 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (6).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License