กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12200
ชื่อเรื่อง: | ความรับผิดของเจ้าของพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Landlord liabilities for selling copyright or trademark infringement merchandises in the premises |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมาน กฤตพลวิมาน ชยุต วงษ์ราชธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การละเมิดลิขสิทธิ์ ความรับผิด (กฎหมาย) การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ความรับผิดของเจ้าของพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของเจ้าของพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า (2) เปรียบเทียบความรับผิดของ เจ้าของพื้นที่ในต่างประเทศตามกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า (3) เสนอแนวคิดสำหรับการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของเจ้าของพื้นที่สำหรับการละเมิดในลักษณะดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัย ทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำราทั้งในประเทศและต่างประเทศหนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล และเอกสารทางวิชาการอื่นๆผลการศึกษาพบว่ากฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พบว่า ประเทศเหล่านี้รับรู้แนวความคิดในเรื่องความรับผิดของเจ้าพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า ไม่ว่าด้วยการบัญญัติเป็นกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ หรือ กฎหมาย เครื่องหมายการค้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยการบัญญัติฐานความผิดขึ้นใหม่หรือการขยายความคุ้มครองในสิทธิแต่ผู้เดียวให้กว้างขวางขึ้น หรือ จากคำพิพากษาในคดีก่อนๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้หลักความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น (Vicarious Liability) และความรับผิดโดยการช่วยเหลือ (Contributory Liability) ต่างจากประเทศไทยที่ไม่ได้กำหนดให้เจ้าของพื้นที่มีความรับผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์หรือพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า อีกทั้งในทางปฏิบัติไม่มีการปรับใช้ประมวลกฎหมายอาญาหรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับกรณีเช่นว่านี้ ผู้ศึกษาเห็นควรเสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ด้วยการบัญญัติเพิ่มเติมการกระทำที่เป็นการละเมิด เพื่อกำหนดความรับผิดให้กับเจ้าของพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12200 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
143424.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.87 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License