Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิมาน กฤตพลวิมาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชยุต วงษ์ราชธ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-06-10T07:34:55Z-
dc.date.available2024-06-10T07:34:55Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12200-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ความรับผิดของเจ้าของพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเครื่องหมายการค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของเจ้าของ พื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า (2) เปรียบเทียบความรับผิดของ เจ้าของพื้นที่ในต่างประเทศตามกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า (3) เสนอแนวคิดสำหรับการ แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของเจ้าของพื้นที่สำหรับการละเมิดในลักษณะดังกล่าว การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการวิจัย ทางเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำราทั้งในประเทศและต่างประเทศ หนังสือ บทความ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาล และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐ ประชาชนจีนและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พบว่า ประเทศเหล่านี้รับรู้แนวความคิดในเรื่องความรับผิด ของเจ้าพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า ไม่ว่าด้วยการบัญญัติ เป็นกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ หรือ กฎหมาย เครื่องหมายการค้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยการบัญญัติฐานความผิดขึ้นใหม่หรือการขยาย ความคุ้มครองในสิทธิแต่ผู้เดียวให้กว้างขวางขึ้น หรือ จากคำพิพากษาในคดีก่อนๆ ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้หลักความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น (Vicarious Liability) และความรับผิดโดยการ ช่วยเหลือ (Contributory Liability) ต่างจากประเทศไทยที่ไม่ได้กำหนดให้เจ้าของพื้นที่มีความรับผิด ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์หรือพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า อีกทั้งในทางปฏิบัติไม่มีการปรับ ใช้ประมวลกฎหมายอาญาหรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับกรณีเช่นว่านี้ ผู้ศึกษาเห็นควร เสนอแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ด้วยการบัญญัติเพิ่มเติมการกระทำที่เป็นการละเมิด เพื่อกำหนดความรับผิดให้กับเจ้าของ พื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการละเมิดลิขสิทธิ์th_TH
dc.subjectความรับผิด (กฎหมาย)th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจth_TH
dc.titleความรับผิดของเจ้าของพื้นที่ที่มีการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้าth_TH
dc.title.alternativeLandlord liabilities for selling copyright or trademark infringement merchandises in the premisesth_TH
dc.typeOtherth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe independent study in Landlord Liabilities for Selling Copyright or Trademark Infringement Merchandises in the Premises aims to (1) study the concepts regarding the liability of landlords for selling copyright or trademark infringement merchandises in the premises of the landlords, (2) compare foreign copyright and trademarks laws relating to landlord liability, (3) propose the concepts for law amendment relating to the landlord liability for such infringement. This independent study is a qualitative research conducted based on documentary research from both Thai and foreign including books, articles, research papers, theses, laws, the judgment of the courts and other academic papers. According to the study in copyright and trademark laws of the United State of America ,The People's Republic of China and Republic of Philippine, it was indicated that these countries recognized the concepts of landlord liability whose premises involved in selling copyright or trademark infringement merchandises either by statues as Intellectual Property Code of Philippine, Trademark Laws of The people's republic of China which imposed new offence, expand the meaning of exclusive rights or by the court's precedents in U.S. on the principle of Vicarious and Contributory Liability. This was contradicted to Copyright Act B.E. 2537 and Trademark Act B.E. 2534 of Thailand which did not hold landlords liable for selling copyright or trademark infringement merchandise on their premises. Moreover, in practice, no one applied the principle of accessory or joint tort-feasor from Penal Code and Civil and Commercial Code in any cases . The researcher proposed to amend the Copyright Act B.E. 2537 and Trademark Act B.E. 2534 by imposing new offences of infringement to hold landlords liable for selling infringing product in their premisesen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143424.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.87 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons