กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12202
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the operational efficiency of government officers in Central Administration, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา บุญยัง
อนัญญา คงแสนคำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: การทำงาน
ข้าราชการ--การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านการบริหารองค์การและการจัดการภาครัฐ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (2) ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้าราชการ สังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นต่อการบริหารองค์การและการจัดการภาครัฐ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ สังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ลำดับแรก คือ ด้านเวลาในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านปริมาณงาน ด้านคุณภาพงาน และด้านความประหยัด / ความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร ตามลำดับ (3) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า ข้าราชการสังกัดส่วนกลางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีประเภทตำแหน่งต่างกัน มีประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสังกัดส่วนกลาง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่า มีจำนวน 3 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านการบริหารองค์การและการจัดการภาครัฐ รองลงมา คือปัจจัยค้ำจุน และลำดับสุดท้าย คือ ปัจจัยจูงใจ ทั้งนี้ ตัวแปรทั้ง 3 ตัว ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 38.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons