กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12209
ชื่อเรื่อง: มาตรการควบคุมและป้องปรามการกระทำที่เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Measures to control conflict of interest in TOT Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
ธานี จันทร์เพ็ญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความขัดแย้งทางสังคม
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์.
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ และความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามกฎหมายไทย (2) วิเคราะห์มาตรฐานทางจริยธรรม และทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์สากลของสหประชาชาติ และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิค (3) วิเคราะห์หลักเกณฑ์ภายในของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เปรียบเทียบกับกฎหมายไทยและหลักเกณฑ์สากล และ(4) วิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการควบคุมและป้องปรามการ กระทำที่เป็นความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้เกิดความรัดกุม และเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างได้ผลวิธีการศึกษาวิจัย ใช้วิธีการวิจัยจากเอกสาร จากเอกสารต่าง ๆ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์จากตัวบทกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ตำราและหนังสือ เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเว็บไซต์หน่วยงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามทุจริต นำมาเรียบเรียงโดยพรรณนาและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ให้ได้มาซึ่งข้อสรุปและข้อเสนอแนะผลการศึกษาพบว่า ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ บริษัท ทีโอทีจำกัด (มหาชน) แม้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการควบคุมดูแลเรื่องนี้ภายในบริษัทโดยกำหนดเป็นประมวลจริยธรรม รวมทั้งมีการตรากฎหมายที่เกียวข้องตั้งแต่รัฐธรรมนูญจนถึงกฎหมายอื่นไว้หลายฉบับ แต่ก็ยังมีผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมการใช้อำนาจไปในทางขัดแย้งกับประโยชน์ส่วนรวม จนเกินเลยถึงขั้นการทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดผลเสียหาย ต่อองค์กรและประเทศชาติอย่างมาก ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าสมควรดำเนินการมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งมาตรการทางด้านกฎหมาย และมาตรการทางด้านสังคมไปพร้อม ๆ กัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12209
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130991.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons