Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12210
Title: | การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งในชั้นพนักงานอัยการ |
Other Titles: | Mediation by public prosecutors for the civil cases |
Authors: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช ธีรเดช มีสวยพงศ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี การไกล่เกลี่ย การระงับข้อพิพาท คดีแพ่ง การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์ |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งในชั้นพนักงานอัยการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหลักการของ กระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ในการไกล่ เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งในชั้นพนักงานอัยการโดยได้ศึกษาเปรียบเทียบการนำกระบวนการ ยุติธรรมทางเลือกมาใช้ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งของศาลยุติธรรมเปรียบเทียบกับ ของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นปัญหาเกี่ยวกับการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ ในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งในชั้นพนักงานอัยการและเพื่อหาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่ เกี่ยวข้องและวางหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมเกี่ยวกับการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกมาใช้ในการไกล่ เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีแพ่งในชั้นพนักงานอัยการ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยการวิจัยทาง เอกสาร(Documentary Research)จากการค้นคว้ารวบรวมจากเอกสารกฎหมาย ทั้งจากประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 รวมทั้งกฎหมายต่างๆ ของ ประเทศไทยและของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง บทความ และตำราทางกฎหมายทั้งของประเทศไทยและ ต่างประเทศ ตลอดจนข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการยุติธรรมทางเลือกเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งมิใช่ กระบวนการที่จะใช้ทดแทนกระบวนการยุติธรรมหลัก จึงเป็นวิถีทางที่สร้างประโยชน์ให้กับระบบ ยุติธรรมทั้งทางแพ่งและทางอาญาได้ กระบวนการยุติธรรมทางเลือกนี้นอกจากจะเป็นการระงับข้อพิพาท ที่มีอยู่ ยังสร้างความสามัคคีและความปรองดองให้กลับคืนมาสู่คู่กรณีทั้งผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด ตลอดจนคู่พิพาททางแพ่งให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ในทางแพ่งนั้นซึ่งหากสามารถไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาทกันได้ จะทำให้ข้อพิพาทยุติลง ไม่ต้องนำคดีดังกล่าวเพื่อฟ้องร้องคดีต่อศาลยุติธรรม ซึ่งถือได้ว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและน่าจะเป็นผลดีมากกว่าที่จะต้องมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลซึ่งไม่แน่ว่าจะถึง ที่สุดเมื่อใด เป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นใน การนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่จะอำนวยความยุติธรรมให้บังเกิดกับประชาชน ทั้งยังช่วยบรรเทาให้ปริมาณคดี ให้ลดน้อยลง เนื่องจากหากมีคดีค้างพิจารณาจำนวนมากจะก่อให้เกิดความเสียหายกับคู่ความ และเกิดผล เสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12210 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
134096.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 31.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License