กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12211
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบอกกล่าวบังคับจำนองกับผลกระทบทางกฎหมายต่อการดำเนินคดี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Reasonable notification of mortgage enforcement problem and its legal effects on Thai Civil Procedure |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ นคร เส็งเจริญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--จำนอง |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการบอกกล่าวบังคับจำนองกับผลกระทบทางกฎหมายต่อการดำเนินคดีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายแนวคิดทฤษฎีวิธีการกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อหาข้อยุติของการบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 ที่กำหนดให้ผู้รับจำนองมีหน้าที่ส่งจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองแก่ผู้จำนองหรือผู้รับโอนทรัพย์ซึ่งจำนอง โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด หากผู้รับจำนองมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดหรือดำเนินการแต่ไม่มีผลเป็นการบอกกล่าวตามกฎหมาย ผู้รับจำนองไม่สามารถยื่นฟ้องบังคับจำนองเป็นคดีต่อศาลได้ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ความเห็นของนักกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 ที่เป็นปัญหาต่อการดำเนินคดี เพื่อหาข้อยุติของปัญหาในการกำหนดระยะเวลาบอกกล่าวบังคับจำนองเห็นสมควรทำการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายในมาตราดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจนแน่นอนและมีผลสมบูรณ์ในการบังคับใช้ผลการศึกษาพบว่าปัญหาอันเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวขาดความชัดเจนในเรื่องของตัวบุคคลที่จะต้องส่งจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนอง ระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระหนี้ ที่ผ่านมาได้นำหลักของคำพิพากษาศาลฎีกามาเป็นแนวทางในการปฏิบัตินับเป็นปัญหาที่มีมาเป็นเวลาช้านานการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจะก่อประโยชน์ต่อกระบวนการฟ้องคดีบังคับจำนองโดยเฉพาะขั้นตอนการบอกกล่าวบังคับจำนองจะส่งผลให้การพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วโดยไม่จำต้องพิจาณาจากข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12211 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
142424.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License