Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12224
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมพล จตุพรth_TH
dc.contributor.advisorมนูญ โต๊ะยามาth_TH
dc.contributor.authorภัคศินีพิชญ์ กุลทัตพงษ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-06-13T08:19:36Z-
dc.date.available2024-06-13T08:19:36Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12224-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย และ (2) พยากรณ์จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย จำแนกเป็นรายภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 การพยากรณ์ใช้วิธีการทางอนุกรมเวลาของบอกซ์-เจนกินส์ หรือแบบจำลอง ARIMA(p,d,q) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การบ่งชี้ตัวแบบพยากรณ์เบื้องต้น (2) การประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (3) การตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์ และ (4) การพยากรณ์แรงงานต่างด้าว จำนวน 12 ช่วงเวลา ตามลำดับ ทั้งนี้ ได้พิจารณาประสิทธิภาพของตัวแบบพยากรณ์จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ประมาณการได้ ผลการศึกษา พบว่า (1) แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในปริมณฑลโดยเฉพาะในภาคการเกษตร และแรงงานต่างด้าวมีรูปแบบการเคลื่อนย้ายที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยมีการกระจุกตัวทำงานในพื้นที่ที่มีสภาพเศรษฐกิจดี มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและมีการจ้างงานมาก เช่น ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ และ (2) ตัวแบบพยากรณ์แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย จำแนกเป็นรายภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คือ ARIMA(3,1,3), ARIMA(1,1,1), ARIMA(3,1,3), ARIMA(3,0,3), ARIMA(3,1,3) และ ARIMA(3,1,3) ตามลำดับ ทั้งนี้ ผลการพยากรณ์ใน 12 ช่วงเวลาข้างหน้า พบว่า พื้นที่ปริมณฑลและภาคกลางมีแนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีแนวโน้มแรงงานต่างด้าวลดลง สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านแรงงานควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจให้กับแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมิใช่การสร้างแรงจูงใจเพียงแค่ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึง สวัสดิภาพ สวัสดิการ และความมั่นคงต่างๆ ในอาชีพของแรงงานต่างด้าว เป็นต้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectแรงงานต่างด้าว--ไทย--พยากรณ์th_TH
dc.titleการพยากรณ์จำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeForecasting the number of foreign workers in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research aim: 1) to study the general information of foreign workers who are permitted to work in Thailand, and 2) to forecast the number of foreign workers who are permitted to work in Thailand. Population in this research are categorized in following regions; Bangkok, Metropolitan Region, Central Region, North Region, Northeast Region, and South Region using monthly time-series data since January 2007 to December 2017. The forecasting utilized time-series data of Box-Jenkins’ method or the ARIMA (p,d,q) which consist of 4 procedures as follows; 1) preliminary of model identification, 2) the parameter estimation with Ordinary Least Square Method, 3) the diagnostic checking for the appropriateness of the forecast model, and 4) the forecasting the number of foreign workers during 12 periods respectively. The efficiencies based on the correlation coefficient between actual values and estimated values have been considered. As the result, it is found that; firstly, (1) the foreign workers who are permitted to work in Thailand mostly work in the Metropolitan Region, especially agricultural sector. Also, foreign workers have different patterns of dislocation in each region by gathering to work in the areas of good economic conditions, high economic values, and high employment rate; such as Metropolitan Region, Central Region, and Southern Region. (2) Secondly, the forecasting models for the foreign workers who are permitted to work in Thailand which categorizes in regions as follows; Bangkok, Metropolitan Region, Central Region, Northeastern Region, and Southern Region, are ARIMA(3,1,3), ARIMA(1,1,1) ARIMA(3,1,3), ARIMA(3,0,3), ARIMA(3,1,3), and ARIMA(3,1,3) respectively. According to the forecasting result in the upcoming 12 periods, it is found that the foreign workers in Metropolitan Region and Central Region tend to increase while the foreign workers in Bangkok, Northern Region Northeastern Region, and Southern Region tend to decrease. For suggestions on labor policy, the government should give priority to creating incentives for foreign workers in order to come to work in Thailand, which is not just only the motivations of monetary compensation, but also safety, welfare and security in the occupation of foreign workersen_US
Appears in Collections:Econ-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons