กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12224
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์จำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Forecasting the number of foreign workers in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพล จตุพร
มนูญ โต๊ะยามา
ภัคศินีพิชญ์ กุลทัตพงษ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: แรงงานต่างด้าว--ไทย--พยากรณ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย และ (2) พยากรณ์จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย จำแนกเป็นรายภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 การพยากรณ์ใช้วิธีการทางอนุกรมเวลาของบอกซ์-เจนกินส์ หรือแบบจำลอง ARIMA(p,d,q) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การบ่งชี้ตัวแบบพยากรณ์เบื้องต้น (2) การประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (3) การตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแบบพยากรณ์ และ (4) การพยากรณ์แรงงานต่างด้าว จำนวน 12 ช่วงเวลา ตามลำดับ ทั้งนี้ ได้พิจารณาประสิทธิภาพของตัวแบบพยากรณ์จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าจริงและค่าที่ประมาณการได้ ผลการศึกษา พบว่า (1) แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในปริมณฑลโดยเฉพาะในภาคการเกษตร และแรงงานต่างด้าวมีรูปแบบการเคลื่อนย้ายที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค โดยมีการกระจุกตัวทำงานในพื้นที่ที่มีสภาพเศรษฐกิจดี มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและมีการจ้างงานมาก เช่น ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคใต้ และ (2) ตัวแบบพยากรณ์แรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย จำแนกเป็นรายภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คือ ARIMA(3,1,3), ARIMA(1,1,1), ARIMA(3,1,3), ARIMA(3,0,3), ARIMA(3,1,3) และ ARIMA(3,1,3) ตามลำดับ ทั้งนี้ ผลการพยากรณ์ใน 12 ช่วงเวลาข้างหน้า พบว่า พื้นที่ปริมณฑลและภาคกลางมีแนวโน้มแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีแนวโน้มแรงงานต่างด้าวลดลง สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านแรงงานควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจให้กับแรงงานต่างด้าวเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย ซึ่งมิใช่การสร้างแรงจูงใจเพียงแค่ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่หมายความรวมถึง สวัสดิภาพ สวัสดิการ และความมั่นคงต่างๆ ในอาชีพของแรงงานต่างด้าว เป็นต้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/12224
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons