Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1224
Title: | การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ |
Other Titles: | Collection development of university libraries' electronic resources in the National Research University Project |
Authors: | ทัศนา หาญพล ปิติมา แก้วเขียว, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พวา พันธุ์เมฆา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สารสนเทศ--การจัดการ การพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ และ 2) ศึกษาปัญหาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรได้แก่ บรรณารักษ์ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ 9 แห่ง จำนวน 33 คน ประกอบด้วยบรรณารักษ์จากห้องสมุดกลาง จำนวน 9 คน และบรรณารักษ์จากห้องสมุดคณะที่มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจัดเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) บรรณารักษ์ห้องสมุด (ร้อยละ 66.66) มีการกำหนดนโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด แหล่งงบประมาณได้มาจาก 2 แหล่ง คือ เงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้ของห้องสมุดโดยมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วนร้อยละที่ชัดเจนผู้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ81.81) คืออาจารย์และบรรณารักษ์กรณีวารสารเน้นการบอกรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงแบบเดียว ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 96.96) บอกรับผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ปัจจุบันนอกจาก ThaiLIS และ PULINET แล้วไม่มีการบอกรับแบบภาคีสมาชิก แต่บรรณารักษ์ห้องสมุด (ร้อยละ 66.66) มีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะเพื่อประหยัดงบประมาณและลดความซ้ำซ้อนของทรัพยากรสารสนเทศ 2) ปัญหาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 33.33) ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการ เรื่องความล่าช้าในการชำระเงิน ปัญหาด้านการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องซื้อเป็นชุด/ทั้งฐานข้อมูล ทำให้งบประมาณไม่เพียงพอ (ร้อยละ 18.18) และปัญหาด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์คือการประสบกับความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานที่ต้องเรียนรู้ใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 15.15) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1224 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (9).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 36.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License