Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1226
Title: การศึกษาคติธรรมทางพระพุทธศาสนาจากตำนานเมืองโบราณเวียงกาหลง ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
Other Titles: Buddhist moral precepts found within an oral history of Wiang Kalong, Wiang Pa Pao District, Chiang Rai Province
Authors: สุดจิต เจนนพกาญจน์
พระสมพงษ์ เมทา, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
การปฏิบัติธรรม
เมืองโบราณ--ไทย--เชียงราย
ตำนาน--ไทย--เชียงราย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คติธรรมทางพระพุทธศาสนาจากต านานเมืองโบราณเวียงกาหลง (2) ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณเวียงกาหลง (3) คติความเชื่อและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของเมืองโบราณเวียงกาหลง วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคคลทั่วไป จำนวน 2 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ผู้มาร่วมปฏิบัติธรรม จำนวน 10 คน ผู้ที่มาร่วมทำบุญจำนวน 5 คน นักวิชาการ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) คติธรรมทางพระพุทธศาสนาจากตำนานเมืองโบราณเวียงกาหลงเป็น คติธรรมที่ อยูในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ความรัก ความกตัญญู ความเมตตา การเสียสละ การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก โดยคติธรรมกับประเพณีมีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งสามารถนำไปอบรมสั่งสอนและเผยแพร่ให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนได้นำไปประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นคนดีของสังคม ทำให้ประเทศชาติมีความสงบสุข และมีสันติสุขอย่างแท้จริง โดยมีพระอาจารย์ธรรมสาธิต เจ้าอาวาสวัดพระยอดขุนพล เป็นผู้นำหลักธรรม (ความรัก ความกตัญญู ความเมตตา การเสียสละ) มาเผยแผ่ พัฒนา ฟื้นฟู ตั้งแต่ พ.ศ.2529 เป็นต้นมา (2) ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณเวียงกาหลง มีประวัติและตำนาน มากกว่าพันปี ซึ่งปรากฏอยู่ ในตำราธรรม ล้านนาเรื่องแม่พญากาเผือก และมีหลักฐานปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่นโบราณสถาน คูเมืองโบราณ ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาและลวดลายเครื่องปั้นซึ่งได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ตลอดจนศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่เวียงกาหลงซึ่งเป็นศาลเล็ก ๆ ที่สร้างมาหลายชั่วอายุคนและเมืองโบราณเวียงกาหลงเดิม เป็นป่ารกร้าง พระอาจารย์ธรรมสาธิต ได้เดินธุดงค์มาพบและได้ปักกลดในบริเวณนี้ เมื่อ พ.ศ.2529 ต่อมาท่านได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาและฟื้นฟูเกี่ยวกับประวัติเรื่องราวตำนาน พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผา และพระยอดขุนพล ที่เคยสูญหายไปให้กับคืนมา (3) คติความเชื่อการบูชาประทีปโคมไฟ การลอยกระทง การบวชแทนคุณบิดามารดา การตั้งธรรมหลวงเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดกการสร้างบุญบารมีเพื่อพบพระศรีอาริยเมตไตยและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วยพิธีกรรม การจุดประทีปโคมไฟ ลอยกระทงการบวชแทนคุณบิดามารดาการตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก) การสร้างบุญบารมีเพื่อจะได้พบพระศรีอาริยเมตไตยในอนาคตกาล ความเชื่อและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2529 โดยพระอาจารย์ธรรมสาธิต เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ ได้พัฒนา ฟื้นฟู พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาขึ้น โดยกำหนด เอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่สำคัญของตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1226
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (10).pdfเอกสารฉบับเต็ม34.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons